วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ข้อสอบปลายภาค

ตอนที่ 1
1. พื้นที่สัญญาณครอบคลุมการทำงานเรียกว่าอะไร
ก. AP
ข. BSS
ค. ESS
ง. DCF
เฉลย ข. BSS
2. ข้อใดไม่ถูกต้องในการกล่าวถึง Rang ของความถี่
ก. 902 MHz-928 MHz
ข. 2.400 GHz-2.4835 GHz
ค. 5.725 GHz-5.855 GHz
ง. ข้อ ก. และ ข .

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามจากข้อ 3- 8 เขียนคำตอบลงในช่อง ก.
A. Industry
B. Science
C. Medical
D. 900 MHz
E. 2.400 GHz
F. IEEE802.11a
G. IEEE802.11b
H. 54 Mbits
I. 2 Mbits
J. 11 Mbits
K. DSSS
L. FHSS
M. ISM

3. Data Rate สูงสุดที่สามารถส่งข้อมูลได้ใน wireless Lan ที่ใช้ Machanism แบบ OFDM
เฉลย F. IEEE802.11a


4. Radio Frequency ที่ใช้งานเยอะที่สุดใน IEEE802.11
เฉลย E. 2.400 GHz


5. IEEE802.11b ใช้ machanism แบบใด
เฉลย K. DSSS

6. Machanism แบบใดที่มี Data Rate 11 Mbits
เฉลย K. DSSS


7. ย่านความถี่ที่อนุญาตให้ใช้ได้ในงานอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และการแพทย์
เฉลย M. ISM

8. Radio frequency 2.400 GHz มีกี่ channel
ก. 54
ข. 69
ค. 79
ง. 89
เฉลย ค. 79

9. ในการ hop แต่ละ hop ใช้การ synchronize ต่างกันเท่าไหร่
ก. 0.4 ms per hop
ข. 0.45 ms per hop
ค. 0.2 ms per hop
ง. 0.25 ms per hop
เฉลย ก. 0.4 ms per hop

10. สถาปัตยกรรมของ wireless Lan ใน mode ใดที่ต้องเดินสาย wire network
ก. Ad-hoc
ข. Peer to Peer
ค. infrastructure
ง. BSS
เฉลย ค. infrastructure
11. Routing Protocol มีกี่แบบ อะไรบ้าง
ก. 2 แบบ Link state & Distance Vector
ข. 2 แบบ Link state & Dynamic
ค. 2 แบบ Dynamic & Static
ง. 2 แบบ BGP & OSPF
เฉลย ค. 2 แบบ Dynamic & Static

12. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาลักษณะของ Routing ที่ดี

ก. Cost ต่ำ
ข. Delay ต่ำ
ค.Space ต่ำ
ง. Hop ต่ำ
เฉลย ค.Space ต่ำ

13. Protocol BGP พิจารณาการส่งข้อมูลจากอะไร

ก. จำนวนลิงค์
ข. ระยะทาง
ค. จำนวน router
ง. ราคาค่าเช่า
เฉลย ค. จำนวน router

14. ลักษณะสำคัญของ routing table ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก. ต้นทาง
ข. ปลายทาง
ค. ต้นทาง ปลายทาง
ง. ต้นทาง โปรโตคอล ปลายทาง
เฉลย ง. ต้นทาง โปรโตคอล ปลายทาง

15. OSFP ( Open Shortest Path First) เป็นชื่อของ
ก. Algorithm
ข. Protocol
ค. Router
ง. Routing Table
เฉลย ข. Protocol

16. ชนิดของเส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้รับ-ส่งข้อมูลในระยะทางไกลๆ
ก. Grade Index Multimode
ข. Step Index Multimode
ค. Single Mode
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ค. Single Mode

17. แกนกลางที่เป็นใยแก้วนำแสงเรียกว่าอะไร
ก. Jacket
ข. Core
ค. Cladding
ง. Fiber
เฉลย ข. Core

18. แสงที่เดินทางภายในเส้นใยแก้วนำแสงจะตกกระทบเป็นมุม คือ ลักษณะของเส้นใยแก้วแบบใด
ก. Grade Index Multimode
ข. Step Index Multimode
ค. Single Mode
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ข. Step Index Multimode

19. แสงที่เดินทางภายในเส้นใยแก้วนำแสงจะตกกระทบเป็นเส้นตรง คือ ลักษณะของเส้นใยแก้วแบบใด
ก. Grade Index Multimode
ข. Step Index Multimode
ค. Single Mode
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ค. Single Mode

20. ต้นกำหนดแสง ( optical source) ที่มี Powerของแสงเข้มข้น คือ
ก. Laser
ข. LED
ค. APD
ง. PIN-FET
เฉลย ก. Laser

21. ข้อใดคือ Fast Ethernet
ก. 10 base5
ข. 100 BasrFL
ค. 1000baseFX
ง. 10 GbaseTX
เฉลย ข. 100 BasrFL

22. 10BaseF ใช้สัญญาณอะไรในการส่งข้อมูล
ก. UTP
ข. STP
ค. Coaxial
ง. Fiber Optic
เฉลย ง. Fiber Optic

23. ข้อใดไม่ใช่ Ethernet แบบ 100 mbps
ก. 1000BaseT
ข. 100BaseTX
ค.1000BaseX
ง. 100BaseFL
เฉลย ข. 100BaseTX

24. ขนาด Frame ที่เล็กที่สุดของ Gigabit Ethernet คือ
ก. 53 byte
ข. 64 byte
ค. 128 byte
ง. 512 byte
เฉลย

25. Ethernet ใช้ protocol ใดในการตรวจสอบการส่งข้อมูล
ก. LLC
ข. CSMA/CA
ค. CSMA/CD
ง. ALOHA
เฉลย ค. CSMA/CD

26. Ethernet 10baseT ต่อยาวกี่เมตรสูงสุด
ก. 80 ม.
ข. 100 ม.
ค. 150 ม.
ง. 185 ม.
เฉลย ข. 100 ม.

27. ใครเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของ Ethernet
ก. OIS
ข. IEEE
ค. ISO
ง. CCITT
เฉลย

28. 10Bases5 ใช้สาย Coaxial แบบใด
ก. Thin
ข. Thick
ค. UPT
ง. STP
เฉลย ข. Thick

29. Fast Ethernet มีความเร็วเท่าใด
ก. 10 mbps
ข. 100 mbps
ค. 1000 mbps
ง. 10 Gbps
เฉลย ข. 100 mbps

30. 100 Mbps, baseband, long wavelength over optical fiber cable คือ มาตรฐานของ
ก. 1000Base-LX
ข. 1000Base-FX
ค. 1000Base-T2
ง. 1000Base-T4
เฉลย ข. 1000Base-FX

31. ATM มีขนาดกี่ไบต์
ก. 48 ไบต์
ข. 53 ไบต์
ค. 64 ไบต์
ง. 128 ไบต์
เฉลย ข. 53 ไบต์

32. CSMA พัฒนามาจาก
ก. CSMA/CA
ข. CSMA/CD
ค. CSMA
ง. ALOHA
เฉลย ง. ALOHA

33. Internet เปิดขึ้นที่ประเทศอะไร
ก. AU
ข. JP
ค. USA
ง. TH
เฉลย ค. USA

34. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายข้อมูล หรือ Transport Technology
ก. SDH
ข. ATM
ค. Mobile
ง. DWDM
เฉลย ก. SDH

35. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไร
ก. CS internet
ข. Operator
ค. Admin
ง. ISP
เฉลย ง. ISP

36. การแจกจ่ายหมายเลขไอพีแอดเดรส ให้กับเครื่องลูกโดยอัตโนมัติเรียกว่าอะไร
ก. DNS
ข. FTP
ค. DHCP
ง. Proxxy
เฉลย ค. DHCP

37. การถ่ายโอนข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไร
ก. DNS
ข. FTP
ค. DHCP
ง. Proxxy
เฉลย ข. FTP

38. โปรโตคอลการสื่อสารที่เป็น offline
ก. ICMP
ข. TCP
ค. UDP
ง. ARP
เฉลย ค. UDP

39. การหาเส้นทางการส่งข้อมูลเรียกว่า
ก. Routing
ข. Routing Protocol
ค. Routing Table
ง. Router
เฉลย ก. Routing

40. ข้อใดไม่มีในขั้นตอนการทำงาน server 7 พ.ค. 48
ก. DHCP
ข. DNS
ค. FTP
ง. Virtual host
เฉลย

41. หมายเลข IP Class ใดลองรับการทำงานของ host ได้สูงสุด
ก. A
ข. B
ค. C
ง. D
เฉลย ก. A


42. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างชนิดเข้าด้วยกันคือ
ก. Hub
ข. Switching
ค. Modem
ง. Router
เฉลย ง. Router


43. การ Set ค่าความสำคัญสูงสุด (High priority) ของ Packet เป็นหน้าที่ของ function ใดต่อไปนี้
ก. PIFS
ข. SIFS
ค. DIFS
ง. MIB
เฉลย ก. PIFS

44. การป้องกันการชนกันของการส่งข้อมูลใด WLAN ใช้หลักการใด
ก. ALOHA
ข. CSMA
ค. CSMA/CA
ง. CSMA/ CD
เฉลย ค. CSMA/CA

45. Data Rate สูงสุดขนาด 54 Mb ที่ส่งได้ใน WLAN ใช้มาตรฐานใดและใช้หลัก mechanism (กลไกการส่ง) แบบใด
ก. IEEE802.11a ; DSSS
ข. IEEE802.11b ; FHSS
ค. IEEE802.11a ; OFDM
ง. IEEE802.11b ; OFDM
เฉลย ค. IEEE802.11a ; OFDM

46. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ D/A คือ
ก. Hub
ข. Switching
ค. Modem
ง. Router
เฉลย ค. Modem

47. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่บรอดแคสสัญญาณ (Broadcast) คือ
ก. Hub
ข. Switching
ค. Modem
ง. Router
เฉลย ก. Hub

48. Mechanism ใดของ WLAN ที่มีการรบกวน (Interference) สูงที่สุดใด
ก. Diffuse IR
ข. DSSS
ค. OFDM
ง. FHSS
เฉลย ง. FHSS

49. CIDR 192.168.0.0./24 จะมีค่า subnet mask เท่าใด
ก. 255.255.0.0
ข. 255.255.128.0
ค. 255.255.255.0
ง. 255.255.255.192
เฉลย ค. 255.255.255.0

50. การ Roaming ใช้กับการโอนถ่ายข้อมูลระหว่าง
ก. AP กับ AP
ข. AP กับ STA
ค. AS กับ BSS
ง. BSS กับ ESS
เฉลย ก. AP กับ AP

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

*ออกแบบ optical fiber digital communication

*ออกแบบ optical fiber digital communication ที่มี่การส่งข้อมูล 30 mbit/s ระยะทาง 45 km
1.perfomance ไม่ระบุ
2.BL =30*45=1350
3.เลือกoptical source เลือกแบบ LED power ที่ -15 dbm
4.เลือกoptical fiber เลือก graded index Multimode
เพราะ รองรับ BL ได้และมี่แบนวิท ที่ 15 GHz/Km
5.เลือกoptical detector เลือก PIN-FET Semsitinty -60dm
เพราะ ราค่าประยัด
6.Lmax=Po-Por
แท่นค่า (-15)-(60)=45
7.Lf=Lmax-(Lc+ls+pm)
Lc=0.50,Ls=2dm,Pm=7db
แท่นค่า Lf =45-(0.5+2+7)=35.5
8.Dmax = Lf/Lfmax 35.5/1=35.5
แท่นค่า 35.5km
----------------------------------------------------------------------------
*ออกแบบ optical fiber digital communication ที่มี่การส่งข้อมูล 50 mbit/s ระยะทาง 100 km
1.perfomance ไม่ระบุ
2.BL =50*100=5000
3.เลือกoptical source เลือกแบบ LED power ที่ -10 dbm
4.เลือกoptical fiber เลือก graded index Multimode
เพราะ รองรับ BL ได้และมี่แบนวิท ที่ 15 GHz/Km
5.เลือกoptical detector เลือก PIN-FET Semsitinty -40dm
เพราะ ราค่าประยัด
6.Lmax=Po-Por
แท่นค่า (-10)-(40)=30
7.Lf=Lmax-(Lc+ls+pm)
Lc=0.50,Ls=2dm,Pm=7db
แท่นค่า Lf =30-(0.5+2+6)=21.5
8.Dmax = Lf/Lfmax 21.5/1=21.5
แท่นค่า 21.5km

ออกข้อสอบเรื่องอีเทอร์เน็ต

ออกข้อสอบเรื่องอีเทอร์เน็ต
1.การเชื่อมต่อเครือข่ายอีเทอร์เน็ตเชื่อมต่อโดยวิธีใด
ก.ใช้วิธีการส่งสัญญาณแบบเบสแบนด์
ข.ส่งโดยผ่านคอมพิวเตอร์
ค.ส่งผ่านการเชื่อมต่อ
ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.
2.อีเทอร์เน็ตถูกพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยใด
ก.มหาวิทยาลัย Hawaii
ข. มหาวิทยาลัย Xerox
ค.มหาวิทยาลัยทุกแห่ง
ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.
3.ใครเป็นผู้พัฒนาอีเทอร์เน็ตขึ้น
ก. Xerox
ข. Alohaค. Access
ง. Detection
ตอบ ข.
4.อีเทอร์เน็ตได้พัฒนามาจากรากฐานบนเครือข่ายใด
ก. In-house Tecgnolohy
ข. Digital Eqripment
ค. Packet Radio
ง.ทุกเครือค่าย
ตอบ ค.
5. ความหมายของIEEE 802.3คือข้อใด
ก.เป็นเครือที่มีความเร็วสูง
ข.เป็นเครือข่ายที่มีความเร็วสูงการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที
ค.การส่งข้อมูล
ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ข.
6.คอมพิวเตอร์มีการรับส่งข้อมูลบนสายของอะไร
ก.เคเบิล
ข.ทองแดง
ค.สายไฟ
ง.แพ็กเกต
ตอบ ก.
7. IEEE 802.2มาคู่กับอะไร
ก.CSMA/CD
ข. MAN
ค. LLC
ง. IBM
ตอบ ค.
8.ฟาสต์อีเทอร์เน็ตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
ก.อีเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ข.เวอร์ชั่นหนึ่งของอีเทอร์เน็ต
ค.กราฟิกดีไซน์
ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.
9.ข้อใดไม่เป็นการทำงานของ IEEE802.3z
ก.เพิ่มความเร็วของ Switch-to-Server Link
ข.การเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล
ค.ส่งข้อมูลระหว่างตัว Gigabit switch กับ Serverประสิทธิภาพสูงซึ่งติดตั้ง Gigabit interface
ง.ไม่มีข้อถูก
ตอบ ง.
10.ฟาสต์อีเทอร์เน็ตสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านใด
ก.กราฟิกดีไซน์
ข.การพิมพ์
ค.การนำเสนอ
ง.การตกแต่งภาพ
ตอบ ก.
1.สมมติว่าคุณต้องการนำ Network Address 168.108.0.0 มาแบ่งซอยย่อยออกเป็น 5 Subnet Address โดยแต่ละ Subnet มีเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 100-150 เครื่อง- จงหาจำนวนบิตที่จะต้องยืมจาก Host Address โดยใช้สูตร 2^x - 2>=n------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เฉลย . สูตร 2^x - 2>=n= 2^x-2>=5= 2^13>=150= 8192>=150 ก็แสดงว่า Host Address 13 บิต เพียงพอกับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เราต้องการใช้
2. จงหาค่าของ Subnet Maskให้เขียน Defualt Subnet Mask ให้อยู่ในเลขฐานสอง ในที่นี้ 168.108.0.0 ในในคลาส B ดังนั้น Subnet Mask คือ 255.255.0.0 เมื่อเขียนเป็นเลขฐานสองจะได้เท่ากับ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เฉลย. 11111111.11111111.00000000.00000000
3.จากโจทย์ข้อ 2 เมื่อยืม Host Address มา 3 บิตจะได้----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เฉลย. 11111111.11111111.11100000.000000004.TCP/IP เป็นกลุ่มของ Protocol ที่ประกอบกันเป็นชุดใช้งาน โดยมีคำเต็มว่าอะไร--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เฉลย. Transmission Control, Protocol/Internet Protocol
5.จงบอกข้อดีของฮับ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เฉลย. 1.ใช้งานง่าย2.ราคาถูก
6.จงบอกข้อเสียของฮับ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เฉลย 1.เนื่องจากการใช้บัสร่วมกัน เมื่ออุปกรณ์มากกว่า 1 ตัวต้องการส่งข้อมูลพร้อมกันอาจทำให้เกิดปัญหาการชนกัน (collision) ของข้อมูลได้ ทำให้ ต้องมีการส่งใหม่ และทำให้ประสิทธิภาพของเครือข่ายลดลง โดยเฉพาะเครือข่ายที่มีอุปกรณ์เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก2.ความปลอดภัยต่ำ เนื่องจากเราสามารถดักจับเอาข้อมูลที่ส่งไปยังเครื่องต่างๆ ในเครือข่ายมาวิเคราะห์ได้
7.หมายเลข IP ในช่วง 158.108.100.0-158.108.100.255 นี้ถ้าเราตัดเอาเฉพาะ 26 บิตแรกมาพิจารณา (โดยเติม 0 แทนอีก 6 บิตที่เหลือ) เราจะได้หมายเลขที่แตกต่างกัน 4 หมายเลข คือ?----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เฉลย .158.108.100.0 (10011110011011000110010000000000). 158.108.100.64 (10011110011011000110010001000000).158.108.100.128 (10011110011011000110010010000000).158.108.100.192 (10011110011011000110010011000000)
8. กรณีที่ว่า สมมติได้ IP คลาส C มา สมมติอีกว่าอยู่ในช่วง 200.10.20.0-200.10.20.255 (สำหรับคนที่ไม่ทราบนะครับ 1 คลาส C จะมี 256 หมายเลข IP) แล้วต้องการแบ่งเป็น 8 กลุ่มย่อยเท่าๆ กัน เราจะได้กลุ่มละ 32 หมายเลขซึ่งต้องใช้ 5 บิตในการแทน ในกรณีนี้ network address ก็จะมี 27 บิต และ subnet mask ก็จะเป็น 255.255.255.224 แต่ละกลุ่มมี network address ดังนี้---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เฉลย.200.10.20.0.200.10.20.32.200.10.20.64.200.10.20.96.200.10.20.128.200.10.20.160.200.10.20.192.200.10.20.224
9.จงบอกข้อดีของสวิตช์------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เฉลย 1.ประสิทธิภาพสูง ไม่มีการใช้บัสร่วมกัน นอกจากนี้ในสวิตช์อาจจะมีบัฟเฟอร์เพื่อป้องกันปัญหาในกรณีที่อุปกรณ์มากกว่า 1 ตัวต้องการส่งข้อมูลไปยังปลายทางเดียวกันพร้อมๆ กันด้วย2.ความปลอดภัยสูงกว่าฮับ การดักจับข้อมูลทำได้ยาก
10 . จงบอกข้อเสียของสวิตช์----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เฉลย1.ราคาแพง2.เมื่อนำอุปกรณ์ใหม่ต่อเข้ากับสวิตช์ ในบางกรณีเราจะยังไม่สามารถส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ตัวใหม่นั้นได้ จนกว่าสวิตช์จะเรียนรู้ว่าหมายเลข MAC ของอุปกรณ์ตัวนั้นคืออะไร (รายละเอียดศึกษาได้จากหนังสือด้านระบบเครือข่ายทั่วๆ ไป หัวข้อ ARP แต่สวิตช์สามารถเรียนรู้หมายเลข MAC ได้จากหลายทาง ARP ก็เป็นหนึ่งในนั้น) การเรียนรู้หมายเลข MAC นี้ส่วนใหญ่จะใช้เวลาไม่นานนัก ขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์ตัวนั้นจะเริ่มส่งข้อมูลออกมาเมื่อใด (สวิตช์จะจำหมายเลข MAC จากpacket

เครือข่าย Ethernet

เครือข่าย Ethernet
1.ความหมายของIEEE 802.3IEEE 802.3 หรือ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็นเครือข่ายที่มีความเร็วสูงการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที สถานีในเครือข่ายอาจมีโทโปโลยีแบบัสหรือแบบดาว IEEE ได้กำหนดมาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งทำงานที่ความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีไว้หลายประเภทตามชนิดสายสัญญาณเช่น•10Base5 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา (Thick Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 500 เมตร•10Base2 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอ๊กเชียลแบบบาง (Thin Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 185 เมตร•10BaseT อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบดาวซึ่งใช้ฮับเป็นศูนย์กลาง สถานีและฮับเชื่อมด้วยสายยูทีพี (Unshield Twisted Pair) ด้วยความยาวไม่เกิน 100 เมตรรูปที่ข้างล่าง แสดงถึงลักษณะเครือข่ายอีเทอร์เน็ตแยกตามประเภทของสายสัญญาณ รหัสขึ้นต้นด้วย 10 หมายถึงความเร็วสายสัญญาณ 10 เมกะบิตต่อวินาที
คำว่า “Base” หมายถึงสัญญาณชนิด “Base” รหัสถัดมาหากเป็นตัวเลขหมายถึงความยาวสายต่อเซกเมนต์ในหน่วยหนึ่งร้อยเมตร (5=500, 2 แทนค่า 185) หากเป็นอักษรจะหมายถึงชนิดของสาย เช่น T คือ Twisted pair หรือ F คือ Fiber opticsส่วนมาตรฐานอีเทอร์เน็ตความเร็ว 100 เมกกะบิตต่อวินาทีที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ 100BaseTX และ 100BaseFX สำหรับอีเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบกิกะบิตอีเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ตัวอย่างของมาตรฐานกิกะบิตอีเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้แก่ 100BaseT, 100BaseLX และ 100BaseSX เป็นต้น อีเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล ซีเอสเอ็มเอ/ซีดี (CSMA/CD : Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) เป็นตัวกำหนดขั้นตอนให้สถานีเข้าครอบครองสายสัญญาณ ในขณะเวลาหนึ่งจะมีเพียงสถานีเดียวที่เข้าครองสายสัญญาณเพื่อส่งข้อมูล สถานีที่ต้องการส่งข้อมูลต้องการตรวจสอบสายสัญญาณว่ามีสถานีอื่นใช้สายอยู่หรือไม่ ถ้าสายสัญญาณว่างก็ส่งข้อมูลได้ทันที หากไม่ว่างก็ต้องคอยจนกว่าสายสัญญาณว่างจึงจะส่งข้อมูลได้ ขณะที่สถานีหนึ่ง ๆ กำลังส่งข้อมูลก็ต้องตรวจสอบสายสัญญาณไปพร้อมกันด้วยเพื่อตรวจว่าในจังหวะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นมีสถานีอื่นซึ่งพบสายสัญญาณว่างและส่งข้อมูลมาหรือไม่ หากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นแล้ว ข้อมูลจากทั้งสองสถานีจะผสมกันหรือเรียกว่า การชนกัน (Collision) และนำไปใช้ไม่ได้ สถานีจะต้องหยุดส่งและสุ่มหาเวลาเพื่อเข้าใช้สายสัญญาณใหม่ ในเครือข่ายอีเทอร์เน็ตที่มีสถานีจำนวนมากมักพบว่าการทานจะล่าช้าเพราะแต่ละสถานีพยายามยึดช่องสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลและเกิดการชนกันเกือบตลอดเวลา โดยไม่สามารถกำหนดว่าสถานีใดจะได้ใช้สายสัญญาณเมื่อเวลาใด อีเทอร์เน็ตจึงไม่มีเหมาะกับการใช้งานในระบบจริง
2.10 Base 210 Base 2 เป็นรูปแบบต่อสายโดยใช้สาย Coaxial มีเส้นศูนย์กลาง 1/4 นิ้ว เรียกว่า Thin Coaxial สายจะมีความยาวไม่เกิน 180 เมตรมาตรฐาน 10 Base 2 ความหมาย 10 คือความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps Base คือการส่งข้อมูลแบบ Baseband 2 คือความยาวสูงสุด 200 เมตร (185 – 200 เมตร ) 10 Base 2 เป็นแบบเครือข่ายที่ใช้สาย Coaxial แบบบาง (Thin Coaxial) ชนิด RG-58 A/U โดยจะมี Teminator (50 โอมห์ ) เป็นตัวปิดหัว และท้ายของเครือข่ายข้อกำหนดของ 10 Base 2
• ใช้สาย Thin Coaxial ชนิด RG-58 A/U
• หัวที่ใช้ต่อกับสายคือ หัว BNC
• ห้ามต่อหัว BNC เข้ากับ LAN Card โดยตรง ต้องต่อด้วย T-Connector เท่านั้น
• เครื่องตัวแรกและตัวสุดท้ายในเครือข่าย ต้องปิดด้วย Terminator ขนาด 50 โอมห์
• ความยาวของสายแต่ละเส้นที่ต่อระหว่าง Workstation ต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 0.5 เมตร
• สายสัญญาณต่อ 1 Segment ยาวไม่เกิน 200 เมตร (185 – 200 เมตร )
• ใน 1 Segment สามารถต่อเป็นเครือข่ายได้ไม่เกิน 30 เครื่อง
• ในกรณีที่ต้องการต่อมากกว่า 30 เครื่อง ต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Repeater เพื่อเพิ่ม Segment โดยสามารถต่อ Repeater ได้ไม่เกิน 4 Repeater ( ดังนั้น 4 Repeater = 5 Segment)
• ความยาวของสายสัญญาณทั้งหมด สูงสุด 1000 เมตร (200 เมตรต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment)
• จำนวนเครื่องสูงสุดในเครือข่าย 150 เครื่อง (30 เครื่องต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment3.10 Base 5 ความหมาย 10 คือความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps Base คือการส่งข้อมูลแบบ Baseband
• คือความยาวสูงสุด 500 เมตร 10 Base 5 เป็นแบบเครือข่ายที่มีลักษณะคล้ายกับ 10 Base 2 แต่จะใช้สาย Coaxial แบบหนา (Thick Coaxial หรือ Back Bone) เป็นสายชนิด RG-8 ซึ่งสายจะเป็นสีเหลืองและมีขนาดใหญ่โดย Teminator (50 โอมห์ ) เป็นตัวปิดหัว และท้ายของเครือข่าย เครือข่ายชนิด 10 Base 5 นี้ จะมีต่อจำนวนเครื่องได้มากกว่า และต่อในระยะได้ไกลกว่าแบบ 10 Base 2 แต่ในปัจจุบันมักไม่นิยมใช้กัน เนื่องจากต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ควรทราบ มีดังนี้ แผงวงจรเครือข่าย (LAN Card) คือแผงวงจรเครือข่ายที่เสียบไว้กับตัวเครื่อง และเชื่อมต่อด้วยสายเพื่อต่อเป็นเครือข่าย โดยแผงวงจรเครือข่ายนี้จะมีหัวเสียบเป็นชนิด DIX Connector Socket ( LAN Card ) ชนิด AUI ใช้กับมาตรฐาน 10 Base 5
ข้อกำหนดของ 10 Base 5• ใช้สาย Thick Coaxial ชนิด RG-8• หัวที่ใช้ต่อกับสายคือหัว DIX หรือบางทีอาจจะเรียกว่า หัว AUI
• เครื่องตัวแรกและตัวสุดท้ายในเครือข่ายต้องปิดด้วย N-Series Terminator ขนาด 50 โอมห์
• ระยะห่างระหว่าง Transceiver ต้องไม่ต่ำกว่า 2.5 เมตร
• Transceiver Cable จะมีความยาวได้ไม่เกิน 50 เมตร
• ใน 1 Segment สามารถต่อเป็นเครือข่ายได้ไม่เกิน 100 เครื่อง
• สายสัญญาณต่อ 1 Segment ยาวไม่เกิน 500 เมตร
• ในกรณีที่ต้องการต่อมากกว่า 100 เครื่อง ต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Repeater เพื่อเพิ่มSegment โดยสามารถต่อ Repeater ได้ไม่เกิน 4 Repeater (ดังนั้น 4 Repeater = 5 Segment)
• ความยาวของสายสัญญาณทั้งหมด สูงสุด 2,500 เมตร (500 เมตรต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment )
•จำนวนเครื่องสูงสุดในเครือข่าย 500 เครื่อง (100 เครื่องต่อ Segment คูณด้วย 5 Segment )
4.100BASE-FX 100BASE-FX Multimode LC SFP Transceiver (P/N: DEM-211) มอบประสิทธิภาพการทำงานระดับสูงให้กับแอพพลิเคชันการสื่อสารข้อมูลแบบซีเรียลออพติคัลดาต้า นอกจากนั้นยังประกอบด้วยตัวเชื่อมต่อที่มีการทำงานแบบดูเพล็กซ์ LC รวมถึงยังสามารถใช้งานร่วมกับมาตรฐานการสื่อสารแบบ IEEE 802.3u เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นเป็น 100 เมกะบิตต่อวินาที ในโหมดฮาฟดูเพล็กซ์สำหรับแอพพลิเคชันเคเบิลไฟเบอร์ ทั้งนี้การอินทริเกรทตัวรับส่งคุณภาพสูงของดีลิงค์นั้นก็เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ปราศจากอาการกระตุกของสัญญาณ และเพื่อให้การเชื่อมต่อแบบออพติคัลสามารถขยายออกไปได้มากยิ่งขึ้นโดยไม่มีการลดประสิทธิภาพลง อุปกรณ์นี้จึงช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะทางที่ไกลๆ ทั้งในส่วนของการใช้งานภายในอาคาร โรงงาน แคมปัสและในตัวเมืองมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น และเมื่อสวิตช์ 2 ตัวมีการเชื่อมต่อกันแล้วโดยใช้ตัวรับส่ง DEM-211 ทั้ง 2 ทาง ผู้ใช้งานจะได้รับอัตราเร็วของการเชื่อมต่อที่ระดับ 155 เมกะบิตต่อวินาที ยิ่งไปกว่านั้นยังได้มอบการเชื่อมต่อแบบไฟเบอร์ออพติค 100BASE-FX SFP บนพอร์ต Gigabit combo SFP ให้กับสวิตช์ของดีลิงค์อีกด้วย
5.100 Base F100Base-Fสาย AMP OSP (Outside Plant) ถูกออกแบบมาเฉพาะ เพื่อการติดตั้งในพื้นที่ขนาดใหญ่ เพราะสามารถติดตั้งไว้บนเสาโยง หรือลอดท่อใต้ดิน เพื่อเชื่อมต่อระหว่างอาคาร สายถูกทดสอบตามมาตรฐาน TIA ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำหรับสายไฟเบอร์ออปกติ ทั้งยังมีคุณสมบัติเกินมาตรฐานไปอีกขั้น จึงรองรับได้ทั้ง 100Base-F, 155/622 Mbps ATM และกิกะบิตอีเธอร์เน็ต

ข่าวกีฬา

ข่าวกีฬา
ลือเซอร์ดึงอดีตมือขวาราฟา

ปาโก้ อเยสเตรันสื่อผู้ดีตีข่าวว่า เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน บรมกุนซือ "ผีแดง" แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เตรียมดึงตัว ปาโก้ อเยสเตรัน อดีตมือขวาผู้รู้ใจของ ราฟาเอล เบนิเตซ กุนซือชาวสเปนของ "หงส์แดง" ลิเวอร์พูล มาทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้จัดการทีม หากเสียตัว คาร์ลอส เคยรอช ให้กับทีมชาติโปรตุเกสจริงอเยสเตรัน แยกทางกับ ราฟา เมื่อต้นฤดูกาลที่ผ่านมา เนื่องจากมีปัญหาไม่ลงรอยกัน ทั้งที่เคยร่วมงานกันมายาวนานกว่าสิบปี ตั้งแต่สมัยคุมทีมเตเนริเฟ, บาเลนเซีย ในศึกลา ลีกา สเปน รวมทั้งย้ายมาทำงานที่แอนฟิลด์ด้วยกันแม้สถานการณ์ล่าสุด อเยสเตรัน จะเซ็นสัญญาไปทำงานกับ เบนฟิก้า ในลีกโปรตุเกสแล้ว แต่มีข่าวว่า เซอร์เฟอร์กี้ พร้อมดึง อเยสเตรัน มารับงานที่โอลด์ แทรฟฟอร์ด

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เส้นใยแก้วนำแสง กับ SDH

เส้นใยแก้วนำแสง
เส้นใยแสงคือ เส้นใยขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เป็นตัวนำแสง โครงสร้างของเส้นใยประกอบด้วยส่วนที่แสงเดินทางผ่านเรียกว่า core และส่วนที่หุ้ม core อยู่เรียกว่า clad ทั้ง core และ clad เป็น dielectric ใส 2 ชนิด โดยการทำให้ค่าดัชนีการหักเหของ clad มีค่าน้อยกว่าค่าดัชนีการหักเหของ core เล็กน้อยประมาณ 0.2 ~ 3% และอาศัยปรากฏการณ์สะท้อนกลับหมดของแสง สามารถทำให้แสงที่ป้อนเข้าไปใน core เดินทางไปได้ นอกจากนั้นเนื่องจากกล่าวกันว่าเส้นใยแสงมีขนาดเล็กมากขนาดเท่าเส้นผมนั้นหมายถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอกของ clad ซึ่งมีขนาดประมาณ 0.1 ม.ม. ส่วน core ที่แสงเดินทางผ่านนั้นมีขนาดเล็กลงไปอีก เส้นใยแสงนอกจากมีคุณสมบัติการส่งดีเยี่ยมแล้วยังมีลักษณะเด่นอย่างอื่นอีกเช่น ขนาดเล็กน้ำหนักเบา
เนื่องจากความต้องการสำหรับการสื่อสาร มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก ตัวนำทองแดงที่ใช้อยู่ไม่เพียงแต่จะมีราคาแพงมากเท่านั้น ข้อมูลเกี่ยวกับลวดตัวนำยังมีไม่พออีกด้วย ข้อจำกัดทางความถี่ของระบบตัวนำลวดทองแดง มีค่าประมาณ 1 Mhz ซึ่งยังไม่เพียงพอสำหรับการสื่อสารแบบความเร็วสูง (High Speed Communication) เส้นใยแสง (Fiber Optic) มีน้ำหนักเบาและมีคุณสมบัติทางความถี่สูง กล่าวคือ ประมาณ 40 GHz และไม่มีการรบกวนจากการแผ่รังสี ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ดังนั้น เส้นใยแสงจึงได้รับความนิยมอย่างมาก
ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงให้เห็นข้อดีของการใช้เส้นใยแสง
1. มีน้ำหนักเบาและไม่เป็นสนิม ซึ่งเหมาะมากสำหรับใช้งานในยานอวกาศ และรถยนต์
2. เส้นใยแสง 1 เส้น สามารถที่จะมีช่องสัญญาณเสียงได้มากเท่ากับ 1500 คู่สาย
3. ความห่างของตัวขยายสัญญาณสำหรับเส้นใยแสงมีค่าตั้งแต่ 35 ถึง 80 กิโลเมตร ซึ่งตรงข้ามกับสายธรรมดา ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 1 ถึงแค่ 1.5 กิโลเมตรเท่านั้น
4. เส้นใยแสงจะไม่มีการรบกวนจากฟ้าแลบ และการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เส้นใยแสง
การผลิตสร้างเส้นใยแสงขั้นพื้นฐานนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก สามารถอธิบายพอสังเขปคือ หลอดควอช์ตที่ถูกทำให้บริสุทธิ์แล้วจะถูกเติมด้วยก๊าซรวม ซิลิกอนเตตระคลอไรด์ , เนอร์มาเนียมเตตระคลอไรด์ , ฟอสฟอรัสออกซีคลอไรด์ หลอดซึ่งมีความยาวประมาณ 4 ฟุต และเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว จะถูกตั้งที่เครื่องกลึง และก๊าซเหล่านั้นก็จะถูกฉีดเข้าไปในหลอดที่กลวงนั้น หลอดจะถูกหมุนไปอยู่บนเปลวไฟที่อุณหภูมิประมาณ 1,600 F การเผาด้วยก๊าซจะทำให้เกิดตะกอนขึ้นภายในหลอด แล้วความร้อนจะถูกเพิ่มเป็นประมาณ 2,100 F เพื่อให้หลอมเหลว และยุบหลอดให้เหลือประมาณ 13 มิลลิเมตร
แท่งควอร์ต ซึ่งผ่านกระบวนการ Modefied Chemical Vapor Deposition (MCVD) แล้วจะถูกวางในแนวตั้งในหอดึง (Drawing Tower) ซึ่งจะถูกให้ความร้อนต่ออีก (2200 F) และถูกดึงลงด้านล่าง โดยหลักการของการหลอมเหลวควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ และขบวนการการดึง เพื่อจะทำให้เส้นใยแสงคุณภาพสูง มีความยาวประมาณ 6.25 กิโลเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 125 ไมโครเมตร ศูนย์กลางซึ่งถูกเรียกว่า แกน หรือ CORE (เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 ไมโครเมตร) จะถูกล้อมรอบด้วยควอร์ตที่บริสุทธิ์น้อยกว่า ซึ่งถูกเรียกว่า ชั้นคลุม หรือ cladding (ขอบเขตประมาณ 117 ไมโครเมตร ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างขบวนการ MCVD) โดยพื้นฐานแล้ว เส้นใยแสงประกอบด้วย 2 ชั้นใหญ่ ๆ คือ แกนนำแสง (50 ไมโครเมตร) และชั้นปกคลุม ชั้นปกคลุมจะประพฤติตัวเป็นตัวกลางของดัชนีหักเห และยอมให้แสงถูกส่งผ่าน แกนเพื่อไปยังอีกปลายอีกด้านหนึ่ง โดยที่มีการลดทอน และความเพี้ยนน้อยมาก ซึ่งแสงจะถูกใส่เข้าไปในเส้นใยแสง และชั้นปกคลุมจะทำให้แสงหักเห หรือสะท้อนในรูปแบบที่ซิกแซก ตลอดความยาวของแกนขบวนการนี้สามารถที่จะเป็นไปได้ เพราะว่ามุมตกกระทบและมุมสะท้อนมีค่าเท่ากัน แสงซึ่งถูกใส่เป็นมุมแหลมจะชนกับชั้นปกคลุม และจะสูญเสียในสารที่ทำชั้นปกคลุม เส้นใยแสงซึ่งถูกสร้างเสร็จเรียบร้อยจะประกอบด้วย
1. Core-Quartz
2. Cladding-Silica
3. Jacket-Acrylic
4. Buffer Jacket
5. Strength Member
6. Outer Jacket
คุณสมบัติของเส้นใยแสง
คุณสมบัติของการส่งแสงผ่านเส้นใยแก้วขึ้นกับปัจจัยหลายประการคือ
1. องค์ประกอบของเส้นใยแสง
2. จำนวนและชนิดของแสงที่ใส่เข้าไปเส้นใยแสง
3. เส้นผ่าศูนย์กลางและความยาวของเส้นใยแสง
องค์ประกอบของเส้นใยแสงจะเป็นตัวกำหนดดัชนีหักเหขบวนการที่เรียกว่าการเจือสาร (doping) สาร อื่นจะถูกใส่เข้าไปเพื่อที่จะให้เปลี่ยนดัชนีหักเห ในเส้นใยแสงเดียว ซึ่งมีดัชนีของแกน n1 และดัชนีของผิวหน้า (ชั้นปกคลุม) n2 (โดยทั่วไป n1=1.48 และ n2 = 1.46)

คุณสมบัติหนึ่งของเส้นใยแสง คือ รูปแบบของการทำงาน (Mode of Operation) คำว่ารูปแบบในที่นี้หมายถึง การอธิบายการกระจายพลังงาน ผ่านตัวกลางโดยใช้คณิตศาสตร์จำนวนรูปแบบของเส้นใยแสงเดี่ยว สามารถมีค่าต่ำ ถึง 1 หรือ มีค่าสูงได้ถึง 100,000 นั่นคือ เส้นใยแสงหนึ่ง ๆ สามารถมีทางเดินสำหรับรังสี 1 รังสี หรือแสงรังสีจากคุณสมบัตินี้จึงเป็นที่มาของรูปแบบเดียว (single mode) และหลายรูปแบบ (Multimode) Refactive Index Profile เป็นความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ในแกนและขั้นปกคลุมของเส้นใย ความสัมพันธ์นี้สามารถกล่าวได้ง่าย ๆ คือ "แสงจะมีการเปลี่ยนแปลงความเร็ว เมื่อทันผ่านจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง" จากความสัมพันธ์นี้สามารถแบ่งออกได้ 2 ดัชนีคือ
1. ดรรชนีขั้น (Step Index)
2. ดรรชนีราบ (Graded index)
ดรรชนีขั้นเป็นดรรชนีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใดจากแกนไปขั้นปกคลุม เช่น แกน ซึ่งมีดรรชนีคงที่ (1.48) และขั้นปกคลุมซึ่งมีดรรชนีคงที่ (1.48) ค่านี้จะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งมันมาถึงดรรชนี ของขั้นปกคลุม นั่นคือ ใกล้ผิวหน้าจากส่วนต่าง ๆ เหล่านี้สามารถแบ่งเส้นใยแสง 3 แบบคือ
1. เส้นใยแสงดรรชนีขั้นหลายรูปแบบ (Multimode Step-Index Fiber)
2. เส้นใยแสงดรรชนีราบหลายรูปแบบ (Multimode Graded-Index Fiber)
3. เส้นใยแสงดรรชนีขั้นรูปแบบเดียว (Multimode Step-Index Fiber)
เส้นใยแสงดรรชนีขั้นหลายรูปแบบมีแกน ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 100-970 ไมโครเมตร ด้วยเหตุที่แกนมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่นี้ จึงมีเส้นทางสำหรับแสงผ่านได้หลายเส้นทาง (Multimode) เพราะฉะนั้น รังสีแสงที่เคลื่อนที่ เป็นเส้นตรงจึงมาถึงปลายก่อนรังสีอื่น ๆ ซึ่งเคลื่อนที่แบบซิกแซก ความแตกต่างกันในเรื่องความยาวของเวลานั้นทำให้ได้แสงมากมาย ที่ทางออกซึ่งเรียกว่า การกระเจิง (Modal Dispersion) นี่เป็นแบบหนึ่งของความเพี้ยนของสัญญาณซึ่งเป็นตัวจำกัดแบนด์วิธของเส้นใยแสง
เส้นใยแสงดรรชนีราบหลายรูปแบบเป็นแบบที่ปรับปรุง มาจากเส้นใยแสงดรรชนีขั้นหลายรูปแบบการเคลื่อนที่ของแสงที่แกนจะช้ากว่าแสงที่บริเวณผิวหน้า เพราะว่าแสงจะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น เมื่อผ่านตัวกลางที่มีค่าดรรชนีหักเห ยิ่งต่ำเพราะฉะนั้นรังสีแสงทั้ง 2 อันจะมาถึงทางออกเกือบจะเป็นเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุที่มีการลดการกระเจิงนั้นเอง โดยทั่วไปเส้นใยแสงดรรชนีราบจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนอยู่ในช่วงตั้งแต่ 50-85 ไมโครเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางของขั้นปกคลุม 125 ไมโครเมตร
รูป A. การเปรียบรูปแบบของดรรชนีการหักเห และ B. การแพร่ในเส้นใยและ Modal Dispersion

ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นที่ทราบว่าปัจจุบันนี้ เส้นใยดรรชนีขั้นรูปแบบเดียวเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในระบบการสื่อสารแบบช่องสัญญาณกว้าง เส้นใยชนิดนี้รังสีสามารถที่จะเคลื่อนที่ โดยใช้ช่องทางเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นการกระเจิงจึงเป็นศูนย์ เส้นผ่าศูนย์กลางของแกนของเส้นใยชนิดนี้ อยู่ในช่องตั้งแต่ 5 ไมโครเมตร ถึง 10 ไมโครเมตร (เส้นผ่าศูนย์กลางมาตรฐานของขั้นปกคลุม คือ 125 ไมโครเมตร) คุณสมบัติบางประการของเส้นใยรูปแบบเดียวคือ
1. แบนด์วิธมีค่าตั้งแต่ 50 ถึง 100 GHz/km
2. อัตราการสื่อสารแบบดิจิตอล เกินกว่า 2,000 Mbyted
3. ใช้งานได้มากกว่า 100,000 ช่องของสัญญาณเสียง
4. ความยาวคลื่นของแสงมีค่าใกล้เคียง เส้นผ่าศูนย์กลางของแกน เพราะฉะนั้นจึงมีความสามารถทางความถี่มากขึ้น
5. ค่า Mode Field Diameter (MFD) มีค่ามากกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของแกน
ลักษณะการเดินทางของแสงภายในเส้นใยแสง
ปัญหาอันดับแรกที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถป้อนแสงเข้าไปใน CORE ที่มีขนาดเล็กมากของเส้นใยแสงได้ และเมื่อป้อนแสงเข้าไปแล้ว แสงนั้นจะเดินทางอย่างไรใน CORE ซึ่งเราจะทำการศึกษาถึงปัญหาพื้นฐานเหล่านี้
การป้อนแสงเข้าไปในเส้นใยแสง
เนื่องจากว่าแสงที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงนั้น จะกระจายกว้างออกเนื่องจากปรากฏการณ์การเบี่ยงเบนของแสง ตามที่กล่าวมาแล้ว ในการที่จะป้อนแสงเข้าไปใน CORE ที่มีขนาดเล็กมากนั้นต้องใช้เลนซ์ทำการรวมแสง แต่ทว่าแสงที่รวมนั้น ไม่ใช่ว่าจะถูกป้อนเข้าไปในเส้นใยแสงได้ทั้งหมด แสงที่มีมุมตกกระทบที่เหมาะสมเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าไปในเส้นใยแสงได้ จากรูปแสดงมุมรับแสงของเส้นใยแสงจากรูปจะเห็นว่าที่จุดป้อนแสงของเส้นใยแสงนั้นจะเป็นจุดต่อของตัวกลางที่มีค่าดัชนีการหักเหของแสงต่างกัน 3 ชนิด
รูปแสดงมุมรับแสงของเส้นใยแสง
ตัวกลางทั้ง 3 ชนิดนี้คือ อากาศ CORE ของเส้นใยแสงและ CLAD ของเส้นใยแสงถ้าให้ค่าดัชนีการหักเหของแสงของตัวกลางทั้ง 3 ชนิดเป็น n0 ( n0=1) ,n1และ n2 ตามลำดับ จะเกิดการหักเห, การสะท้อนกลับของแสงที่มีรอยต่อของอากาศกับ CORE และ CORE กับ CLAD ในที่นี้ให้มุมรับแสงในที่นี้ให้มุมรับแสงของเส้นใยแสงที่มีค่ามากที่สุดเป็น ? max จากรูป จะเห็นว่าอย่างเส้นลำแสง 2 นั้นมุมรับแสงตรงรอยต่อของ CORE กับ CLAD นั้นมีค่าเป็นมุมวิกฤติ (CRITICAL ANGLE) ตรงรอยต่อของอากาศกับ CORE กับ CLAD นั้นจากกฏของ SNELL จะเห็นได้ว่า


เรียกว่า อัตรารส่วนของผลต่างของดัชนีการหักเกของแสง สำหรับ sin ? max นี้ตามศัพท์เทคนิคของวิชาแสงเรียกว่า NUMERICAL APERTURE เขียนย่อว่า "NA" หมายถึงการเปิดรับให้แสงผ่าน และใช้เป็นตัวแสดงเงื่อนไข การป้อนแสงเข้าไปในเส้นใยแสง นอกจากนั้นยังถือเป็นตัวประกอบพื้นฐาน อันหนึ่งที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเชื่อมต่อแสง ระหว่างต้นกำเนิดแสงกับเส้นใยแสงด้วย จากรูปจะเห็นได้ว่าถ้าหากขนาดของ CORE และ NA มีค่าคงที่แล้วจะกำหนดปริมาณของแสงที่ป้อนเข้าไปใน CORE ได้ทันทีเส้นใยที่มี CORE ขนาดใหญ่และมีค่า NA มากจะมีประสิทธิภาพการเชื่อมต่อแสงระหว่างต้นกำเนิดแสงกับเส้นใยแสงสูงมาก


รูปแสดงผลของ NA และขนาดของ CORE ที่มีต่อประสิทธิภาพการเชื่อมต่อแสงระหว่างต้นกำเนิดแสงกับเส้นใยแสง


MODE การเดินทางของแสงภายในเส้นใยแสง (Propagation Mode)


แสงที่ป้อนเข้าไปในเส้นใยแสงด้วยค่าของมุมรับแสงที่อยู่ในช่วงของมุมรับแสงสูงสุดนั้นแสงจะเดินทางในเส้นใยแสงด้วย ลักษณะที่เกิดการสะท้อนกลับไปมาตรงรอยต่อของ CORE กับ CLAD โดยที่แสงสะท้อนกลับไปมาจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าพร้อมกันด้วยแต่ทว่าจาก INTERFERENCE ของแสงภายใน CORE นั้นมุมสะท้อนกลับที่รอยต่อจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีเงื่อนไขที่เหมาะสม เกี่ยวกับเงื่อนไขที่เหมาะสมนี้จะได้กล่าวในหัวข้อต่อไปนี้ จะใช้เส้นใยแสงที่มีรูปร่างเป็นแผ่นแบนดังจะแสดงในรูป (b) แทนลักษณะเส้นใยแสงที่มีรูปร่างกลมดังรูป (a) และอีกอย่างหนึ่งเพื่อทำให้การอธิบายเกี่ยวกับ สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กของแสงง่ายขึ้นจะพิจารณาเฉพาะสนามไฟฟ้าเท่านั้น




รูปแสดงเส้นใยแสงแบบกลมและแบบระนาบแบน

1. ประวัติความเป็นมาของ SDH/SONET

เครือข่าย SDH
1. ประวัติความเป็นมาของ SDH/SONET

เมื่อเราย้อนกลับไปในอดีต ระบบเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะนับว่าเป็นระบบส่งสัญญาณข้อมูลทางไกลที่สะดวกที่สุด ข้อมูลดิจิตอลที่ส่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์จะถูกเปลี่ยนให้มีรูปสัญญาณเป็นอนาล็อก และถูกมัลติเพล็กซ์รวมกันไปในช่องสัญญาณขนาด 4 KHz ต่อมาได้มีการพัฒนาเทคนิคการมอดูเลตสัญญาณอนาล็อกให้เป็นดิจิตอล (เช่น PCM หรือ Pulse Code Modulation ) ทำให้สามารถส่งสัญญาณอนาล็อกผ่านเครือข่ายดิจิตอลด้วย ผลที่ตามคือ การพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะจากระบบอนาล็อกเดิมไปเป็นระบบดิจิตอลซึ่งเรียกว่า “ เครือข่าย ISDN ” ซึ่งมีช่องสัญญาณอัตราเร็วข้อมูล 64 Kbps เมื่อเรารวมช่องสัญญาณ 64 Kbps หลาย ๆ ช่องสัญญาณด้วยการมัลติเพล็กซ์แบบ TDM แล้วจะทำให้เราสามารถส่งข้อมลดิจิตอลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ดิจิตอลได้ด้วยอัตราเร็วข้อมูลมากกว่า 2 Mbps ยิ่งอัตราเร็วของการส่งข้อมูลมีมากขึ้นเท่าใด ความซับซ้อนของการมัลติเพล็กก็ยิ่งมากขึ้นเพราะจำนวนช่องสัญญาณมากขึ้น อีกทั้งแต่ละช่องสัญญาณยังมีอัตราบิตที่แตกต่างกัน เนื่องจากการส่งมาจากต่างสถานีกัน จึงต้องมีการเพิ่มบิต เข้าไปเพื่อปรับอัตราบิตในแต่ละช่องสัญญาณเท่ากันบิตเหล่านี้จะถูกมัลติเพล็กซ์ออกเมื่อปลายไปถึงปลายทาง วิธีการมัลติเพล็กซ์แบบนี้เรียกว่า “ Plesiochronus ” หรือ “ เกือบจะเป็นซิงโครนัส ” ดังนั้นเครือข่ายการทำงานความเร็วสูงในยุคแรกเริ่มจึงมีชื่อเรียกว่า “ เครือข่าย Plesiochronus Digital Hierarchy ” เรียกสั้น ๆ ว่า เครือข่าย PDH เพราะมีการใช้มัลติเพล็กซ์ Plesiochronus ในทุกระดับชั้นนั่นเอง

เครือข่าย PDH

สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วถึง 140 Mbps จึงถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในยุโรป แต่อย่างไรก็ตามเครือข่าย PDH ยังมีข้อจำกัดเช่น ขาดความคล่องตัวในการใช้งานเนื่องจากต้องการใส่บิตเพิ่ม และดึงบิตออกทุกครั้งที่ผ่านอุปกรณ์มัลติเพล็กซ์และทำให้สิ้นเปลืองอุปกรณ์ด้วย จากความต้องการในการสื่อสารข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่เป็นมัลติมิเดียมีมากขึ้น ทำให้อัตราการส่งข้อมูล 140 Mbps ของ PDH จึงต้องมีการคิดใหม่ว่าการสื่อสารข้อมูลแบบซิงโครนัสจริง ๆ น่าจะช่วยเรื่องการแก้ไขเรื่องความเร็วได้ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาเครือข่ายใหม่ ที่เรียกว่า “ เครือข่าย SDH” (Synchronous Digital Hierarchy ในเขตประเทศยุโรป และ “ เครือข่าย SONET” (Synchronous Optical Network ) ในเขตอเมริกาเหนือในเวลาต่อมา หลังจากได้มีการพัฒนาเครือข่ายการส่งข้อมูลดิจิตอลความเร็วสูงระยะทางไกล SDH ต่อจากระบบส่งข้อมูล PDH ในยุโรปแล้วองค์การ ITU-T (หรือ CCITT เดิม) ได้ออกมาตรฐานออกข้อมูลการส่งระดับเบื้องต้นของเครือข่ายเป็น 155.52 Mbps ซึ่งเรียกว่า “ มาตรฐาน STM- 1” (Synchronous Transport Module ) สำหรับมาตรฐานอัตราส่งข้อมูลที่สูงกว่าที่ได้จากมัลติเพล็กซ์อัตราส่งข้อมูล STM -1 นั้น ได้แก่ Synchronous -4 Mbps STM – 16 (2.48 Gbps ) และ STM- 64 (9.95 Gbps ) นอกจากนี้แล้วยังกำหนดมาตรฐานของเฟรมข้อมูล การมัลติเพล็กซ์แบบทริบูทารีและการเทียบสัญญาณ (Mapping )

เครือข่าย SONET

นั้นเป็นเครือข่ายการส่งข้อมูลระยะไกลของระบบโทรศัพท์ในเขตอเมริกาเหนือผ่านสายใยแก้วนำแสง ซึ่งมีองค์กร ANSI เป็นผู้นำมาตรฐานอัตราการข้อมูลเบื้องต้นที่ระดับ 155.52 Mbps เช่นกับเครือข่าย SDH เพียงแค่ว่าการใช้ช่องสัญญาณพื้นฐานซึ่งมีอัตราการส่งต่ำกว่า เรียกว่า “STS- 1” (Synchronous Transport Signal 1 ) และการใช้มัลติเพล็กช่องสัญญาณพื้นฐานให้มีอัตราการส่งสูงขึ้น ก่อนจะแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณแสง ส่งออกไปตามสายใยแก้วนำแสง โดยเรียกสัญญาณแสงนี้ว่า “OC-n” ตามสัญญาณไฟฟ้าก่อนแปลงคือ STS-n (OC =Optical concentrated )

2. โมเดลของ SDH

เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันจึงแบ่งโมเดลของ SDH ออกเป็น 4 ชั้นคือ 2.1 ชั้นแรก เรียกว่าโฟโตนิก เป็นชั้นทางฟิสิคัลที่เกี่ยวกับการเชื่อมเส้นใยแก้วนำแสง และอุปกรณ์ประกอบทางด้านแสง 2.2 ชั้นที่สอง เป็นชั้นของการแปลงสัญญาณแสง เป็นสัญญาณไฟฟ้า หรือในทางกลับกัน เมื่อแปลงแล้วจะส่งสัญญาณไฟฟ้าเชื่อมกับอุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ชั้นนี้ยังรวมถึงการจัดรูปแบบเฟรมข้อมูล ซึ่งเป็นเฟรมมาตรฐาน แต่ละเฟรมมีลักษณะชัดเจนที่ให้อุปกรณ์ตัวรับและตัวส่งสามารถซิงโครไนซ์เวลากันได้ เราจึงเรียกระบบนี้ว่า Synchronous 2.3 ชั้นที่สาม เป็นชั้นที่ว่าด้วยการรวมและการแยกสัญญาณ ซึ่งได้แก่วิธีการมัลติเพล็กซ์ และดีมัลติเพล็กซ์ เพราะข้อมูลที่เป็นเฟรมนั้นจะนำเข้ามารวมกัน หรือต้องแยกออกจากกัน การกระทำต้องมีระบบซิงโครไนซ์ระหว่างกันด้วย 2.4 ชั้นที่สี่ เป็นชั้นเชื่อมโยงขนส่งข้อมูลระหว่างปลายทางด้านหนึ่งไปยังปลายทางอีกด้านหนึ่ง เพื่อทำให้เกิดวงจรการสื่อสารที่สมบูรณ์ ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่งจึงเสมือนเชื่อมโยงถึงกันในระดับนี้ เพื่อให้การรับส่งระหว่างปลายทางด้านหนึ่งไปยังอีกปลายทางด้านหนึ่งมีลักษณะสื่อสารไปกลับได้สมบูรณ์ การรับส่งจึงมีการกำหนดแอดเดรสของเฟรมเพื่อให้การรับส่งเป็นไปอย่างถูกต้อง กำหนดโมดูลการรับส่งแบบซิงโครนัส ที่เรียกว่า STM - Synchronous Transmission Module โดย เฟรมของ STM พื้นฐาน มีขนาด 2430 ไบต์ โดยส่วนกำหนดหัวเฟรม 81 ไบต์ ขนาดแถบกว้างของการรับส่งตามรูปแบบ STM จึงเริ่มจาก 155.52 เมกะบิตต่อวินาที ไปเป็น 622.08 และ 2488.32 เมกะบิตต่อวินาที จะเห็นว่า STM ระดับแรกมีความเร็ว 155.52 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งเป็น 3 เท่าของแถบกว้างพื้นฐานของ SDH ที่ 51.84 เมกะบิตต่อวินาที STM จึงเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ภายใน SDH ด้วย

3. แนวคิดเบื้องต้นของเครือข่าย SDH

3.1 ประโยชน์ของ SDHSDH (Synchronous Digital Hierarchy)

เป็นมาตรฐานสากลของเครือข่ายสื่อสัญญาณความเร็วสูง เป็นเครือข่ายที่มีความทันสมัยมากในการสื่อสัญญาณและการบริหารจัดการเครือข่ายเทคโนโลยีของ SDH ช่วยให้ network operator สามารถตอบสนองความต้องการใช้ capacity ของช่องสัญญาณของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว เครือข่าย SDH สามารถถูกออกแบบสร้างให้มีความสามารถในการฟื้นตัวเองได้อย่างอัตโนมัติในกรณีที่มีปัญหาขัดข้องเกิดขึ้นกับเครือข่าย ทำให้เครือข่ายมีความสามารถในการใช้การได้(availability)ที่สูงขึ้น การจัดโครงสร้างการมัลติเพล็กซ์ของสัญญาณ SDH ได้ช่วยให้สามารถต่อไขว้ (cross-connect) ช่องสัญญาณ low-order ที่อยู่ภายในช่องสัญญาณ high-order ได้โดยไม่จำเป็นต้องดีมัลติเพล็กซ์สัญญาณทั้งหมดออกก่อน ซึ่งเป็นข้อดีที่สำคัญประการหนึ่งของ SDH เมื่อเทียบกับ PDH

3.2 สำคัญของเครือข่าย SDH - SDH

เป็นมาตรฐานนานาชาติที่ใช้ร่วมกัน- อุปกรณ์ที่ต้องการใช้น้อยกว่าแบบ PDH- มีความคล่องตัว(flexibility)ของเครือข่ายสูง- เครือข่ายมีความสามารถในการใช้การได้(availability)ที่สูง- มีการบริหารจัดการเครือข่ายที่ดี- อุปกรณ์จากผู้ขายคนละรายสามารถทำงานเข้ากันได้ (compatibility)การนำเทคโนโลยี SDH เข้ามาใช้ได้ทำให้โครงสร้างเครือข่ายที่แต่เดิมใช้ PDH เปลี่ยนแปลงจากระบบ point-to-point ที่ดูง่าย ไปเป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยง nodes เป็น ring หรือ mesh ซึ่งให้ความคล่องตัวมากกว่า สามารถควบคุมการสวิทซ์ cross-connect ได้จากระยะไกลระบบบริหารจัดการเครือข่าย (Network Management System(NMS)) จะช่วยให้สามารถควบคุมและจัดการเครือข่ายได้จากระยะไกลได้เป็นอย่างดี SDH ได้ทำให้เกิดแนวทางในการสร้างเครือข่ายใหม่ขึ้นมาคือ- การใช้เครือข่ายแบบ ring และความสามารถของระบบเส้นใยนำแสงช่วยให้สามารถได้รับเครือข่ายที่มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และคุ้มกับการลงทุน- สามารถวางเครือข่าย SDH ลงบนโครงสร้างเครือข่ายที่มีอยู่แล้วได้อย่างเหมาะสม- เครือข่าย SDH สามารถถูกปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานเครือข่ายได้ง่าย- ระบบบริหารจัดการเครือข่ายจะช่วยให้ network operator สามารถควบคุมและซ่อมบำรุงรักษาเครือข่ายได้สะดวกและง่ายขึ้น

อุปกรณ์ SDH

สามารถทำฟังก์ชั่นต่างๆได้มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง traffic protection ทำให้สามารถนำมาใช้กับเครือข่ายได้ทั้งแบบ point-to-point, chain หรือ ring ฟังก์ชั่นพื้นฐานที่ต้องมีในเครือข่าย SDH ประกอบด้วย การมัลติเพล็กซ์ (multiplexing) การต่อไขว้สัญญาณ (cross-connecting) และการอินเตอร์เฟสกับสายส่งการสื่อสัญญาณ(line interfacing/transmission) หากจะเทียบกับอุปกรณ์ PDH แล้วอุปกรณ์ network element ของ SDH นั้นจะมีการรวมฟังก์ชั่นพื้นฐานหลายฟังก์ชั่นเข้าไว้ในอุปกรณ์ network element ตัวเดียวกันได้ ขณะที่ของ PDH ไม่มี ตัวอย่าง เช่น อุปกรณ์ add-drop multiplexer(ADM) จะประกอบด้วยฟังก์ชั่นการมัลติเพล็กซ์cross-connect และ(optical) line interface

อุปกรณ์ network element ของ SDH

จะมีอยู่ 3 แบบหลักๆด้วยกันคือ add-drop multiplexer (ADM), digital cross connect (DXC) และ regenerator(REG)

3.2.1 Add-drop multiplexer (ADM)

การจัดโครงสร้างการมัลติเพล็กซ์ของ SDH ได้ช่วยให้สามารถต่อไขว้ (cross-connect)สัญญาณระดับ low-order ที่บรรจุอยู่ภายในสัญญาณระดับ high-order ได้โดยไม่ต้องดีมัลติเพล็กซ์สัญญาณทั้งหมดออกก่อน ซึ่งเป็นข้อดีของ SDH เมื่อเทียบกับ PDH อุปกรณ์ add-drop multiplexer ได้ใช้ประโยชน์จากข้อดีดังกล่าวนี้ โดยสามารถดึงช่องสัญญาณที่ต้องการออกแล้วเพิ่มช่องสัญญาณใหม่เข้าไปหรือทำการต่อไขว้ช่องสัญญาณซึ่งสามารถทำฟังก์ชั่นทั้งหมดนี้ภายในอุปกรณ์ตัวเดียวกันได้ทำให้เหมาะที่จะใช้ในโครงสร้างเครือข่ายที่เป็นแบบ chain หรือแบบ ring การใช้โครงสร้างแบบ ring จะทำให้เครือข่ายมี availability ที่สูงขึ้นเพราะสามารถส่งทราฟฟิกใน 2 ทิศทางโดยรอบ ring ทำให้สามารถ protection ทราฟฟิกได้หลายรูปแบบโดยการใช้ route diversity นี้ระดับความสามารถในการ cross-connect ของอุปกรณ์ ADM จะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์แต่ละรุ่นที่ผลิตออกมาบางรุ่นสามารถ cross-connect ได้เฉพาะระดับ VC-4 เพราะต้องการนำมาใช้งานในส่วนของ core network ขณะที่บางรุ่นสามารถ cross-connect ได้จาก VC-12 ถึง VC-4 ทำให้เหมาะที่จะนำมาใช้งานในส่วนของ access network

4. สถาปัตยกรรมเครือข่าย SDH

ในส่วนนี้จะพิจารณาแนวความคิดและหลักการเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างเครือข่าย SDH และอธิบายถึงแนวความคิดของสถาปัตยกรรมเครือข่าย SDH โดยทั่วไป มาตรฐาน SDH ถูกกำหนดเพื่อจุดมุ่งหมายที่จะให้ได้รับความสามารถเครือข่ายที่มากขึ้นและสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบใหม่ที่ดีกว่าเดิม อุปกรณ์ network element ของ SDH นั้นมีฟังก์ชั่นพื้นฐานสำคัญหลายอย่างภายในอุปกรณ์เดียวกันและมีประสิทธิภาพกับความคล่องตัวที่มากกว่าอุปกรณ์ PDH ในเครือข่ายแบบเดิม4.1 โครงสร้างเครือข่ายพื้นฐาน ในส่วนนี้จะกล่าวถึงภาพรวมทั่วไปของโครงสร้างและโทโปโลยีของเครือข่ายพื้นฐานของ SDHด้วยคุณสมบัติต่างๆของฟังก์ชั่นการมัลติเพล็กซ์ของ SDH ได้ทำให้อุปกรณ์ add-drop multiplexerสามารถนำมาใช้ในเครือข่ายแบบใหม่ได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น การใช้ในเครือข่ายแบบ ring และbus เป็นต้น

4.1.1 เครือข่ายแบบ Mesh

โครงสร้างเครือข่ายแบบ Mesh เกิดจากการเชื่อมโยงอุปกรณ์ cross-connect เข้าหากันเป็นลักษณะตาข่าย และมักจะใช้เป็นเครือข่ายในระดับ Core networkโหนด CC สามารถถูกบริหารจัดการจากระยะไกล ทำให้สะดวกต่อการจัดสรรและกำหนดใช้งานวงจรได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้คุณภาพและความคล่องตัวของเครือข่ายดีขึ้น โหนด CC ยังสามารถทำฟังก์ชั่นของการ protection ระบบต่างๆได้อีกด้วย ทำให้ availability ของเครือข่ายดีขึ้น

4.1.2 เครือข่ายแบบ Ring

ระบบ ring ของ SDH เกิดจากการเชื่อมโยงโหนดต่างๆเข้าด้วยกันเป็นลูปปิด แต่ละโหนดก็คือ add-drop multiplexer(ADM) โดยแต่ละ ring section หรือแต่ละ span นั้นจะมี transmission capacity เหมือนกันอุปกรณ์ ADM ควรจะสามารถติดต่อกับทราฟฟิกทั้งหมดที่อยู่บนสายส่งได้ และมี non-blocking switch matrix อยู่ภายใน หน้าที่หลักของ ADM คือ การเพิ่มและดึงช่องสัญญาณtributary จากสัญญาณ aggregate STM-N เครือข่ายแบบ ring แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ uni-directional และ bi-directional ขึ้นกับทิศทางการวิ่งของทราฟฟิกในภาวะปกติ ถ้าเป็น ring แบบ uni-directional ทราฟฟิกใช้งานจะวิ่งรอบ ringในทิศทางเดียวกันเท่านั้น (อย่างเช่น ตามเข็มนาฬิกา) นั่นคือ ทราฟฟิกที่รับและส่งระหว่างโหนดคู่หนึ่ง จะวิ่งอยู่คนละด้านของ ring แต่ถ้าเป็น ringแบบ bi-directional ทราฟฟิกที่รับและส่งระหว่างโหนดคู่หนึ่งจะวิ่งทางด้านใดด้านหนึ่งของ ring เท่านั้นวิธีการ protection แบบต่างๆมากมายได้ถูกเสนอขึ้นมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการใช้งานวงจรช่องสัญญาณได้ วิธี protection ที่นิยมใช้กันมาก 2 วิธีในระบบ ring คือ path protection(SNCP)และ Bi-directional Self-Healing Ring protection(BSHR) ถ้าลองเปรียบเทียบกับเครือข่ายที่ใช้อุปกรณ์ cross-connect แล้ว จะพบว่า การใช้ ring นั้นจะลงทุนต่ำกว่า ฟื้นตัวทราฟฟิกได้เร็วกว่าควบคุมง่ายกว่าและสร้างเครือข่ายได้ง่ายกว่า

การวางแผนเครือข่าย SDH

ป้าหมายหลักในการวางแผน

การวางแผนและการจัดโครงสร้างของเครือข่ายจะต้องพยายามลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนและดำเนินการ แต่คุณภาพของบริการและความคล่องตัวของเครือข่ายยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี การออกแบบเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม ต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น รูปแบบการกระจายของทราฟฟิกค่าใช้จ่ายในการลงทุนและการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้งานเพื่อให้เครือข่ายที่ได้สอดคล้องกับเงื่อนไขต่างๆอย่าเหมาะสม เช่น เงื่อนไขในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการลงทุน ความน่าเชื่อถือและความคล่องตัวของเครือข่ายเมื่อกำลังวางแผนเครือข่ายเงื่อนไขเป้าหมายต่างๆจะต้องถูกสมดุลให้สอดคล้องกับความต้องการการใช้งานของลูกค้าหรือธุรกิจ การหาจุดสมดุลจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการวางแผนเครือข่าย

บทสรุปและแนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับ SONET/SDH

การสื่อสารในแบบ SONET/SDH

ออกแบบมาเพื่อการโทรคมนาคมและเป็นเครือข่ายผ่านสายใยแก้วนำแสง เนื่องจากต้องการความเร็วสูง ดังนั้นการจะส่งสัญญานในลักษณะนี้จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์เครือข่ายในลักษณะที่แตกต่างออกจากเดิมเช่น เครื่องทวนสัญญาน, เครื่องสลับสับเปลี่ยนช่องทางเดินสัญญาน, เครื่องเปลี่ยนมาตราฐานสัญญาน จากอดีตจนถึงปัจจุบันนับว่าการพัฒนาเป็นมาอย่างยาวนานและต่อเนื่องเพื่อจุดประสงค์หลักคือให้ได้การส่งสัญญานด้วยความเร็วที่สูงขึ้นผ่านสายใยแก้วนำแสง ดังที่จะเห็นจากมาตราฐานความเร็วในการส่งที่ต้องการระดับช่องสัญญานมากขึ้นหรือที่เรียกว่า Optical Level ตั้งแต่ OC-1, OC-2 ไปจนกระทั่งในปัจจุบันนี้ (2007) OC-3072ที่สามารถลำเลียงข้อมูลได้สูงถึง 153 Gbps ใช้เป็นการลำเลียงข้อมูลในเครือข่ายเชื่อมต่อหลักระหว่างประเทศ-ทวีป ทำให้การติดต่อสื่อสารในปัจจุบันเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่กระนั้นความต้องการของผู้ใช้งานนั้นก็ยังเพิ่มขึ้นอยู่ทุกวัน เนื่องจากการบริการทางโทรคมนาคมมีมากขึ้นในรูปแบบี่หลากหลายขึ้น ตราบไดที่ยังหารูปแบบในการส่งลักษณะอื่นไม่ได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือตราบไดที่ยังหาความเร็วที่มากกว่าแสงไม่ได้ การส่งแบบ SONET/SDH ยังคงพัฒนาต่อไป จะมีการเพิ่มความเร็วในการส่ง การเพิ่มคุณภาพของอุปกรณ์ความผิดพลาดจะเกิดขึ้นน้อยลง ความต้านทานจะต่ำลง และราคาก็จะถูกลง เพื่อให้สามารถนำเครือข่ายลักษณะนี้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นในอนาคตอันไกล้ จากเอาไว้ส่งข้ามทวีปประเทศกลายมาเป็นนำมาส่งระหว่างประเทศ ภายในประเทศ ระหว่างจังหวัด หรือระหว่างองค์กรเป็นต้นเป็นต้น

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2

สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2
1. Router มีกี่โหมด อะไรบ้าง อธิบายให้ละเอียด
ตอบ1. Router มีกี่โหมด อะไรบ้างRoutingมีอยู่ 2 แบบ หลักๆ ได้แก่
- แบบสเตติก (Static Route)
- แบบไดนามิก (Dynamic Route)
Static คือการเลือกเส้นทางแบบ Static นี้ การกำหนดเส้นทางการคำนวณเส้นทางทั้งหมด กระทำโดยผู้บริหาจัดการเครือข่าย ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้บริหารจัดการดูแล เครือข่า เข้ามาจัดการทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีการใช้ วิธีการทาง Static เช่นนี้
มีประโยชน์เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังนี้
-เหมาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก
-เพื่อผลแห่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่าข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว
-ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้น
-ช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มากเนื่องจากไม่มีปัญหาการ Broadcast หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Router ที่มาจากการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางการจัดตั้ง Configuration สำหรับการเลือกเส้นทางแบบ Staticเป็นที่ทราบดีแล้วว่า การเลือกเส้นทางแบบ Static เป็นลักษณะการเลือกเส้นทางที่ถูกกำหนดโดยผู้จัดการเครือข่าย เพื่อกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ตายตัว หรือเจาะจงเส้นทางปกติ Router สามารถ Forward Packet ไปข้างหน้า บนเส้นทางที่มันรู้จักเท่านั้น
ดังนั้นการกำหนดเส้นทางเดินของแพ็กเก็ตให้กับ Router จึงควรให้ความระมัดระวังวิธีการจัด Configure แบบ Static Route ให้กับ Router Cisco ให้ใส่คำสั่ง ip route ลงไปที่ Global Configuration Mode มีตัวอย่างการใช้คำสั่งดังนี้
ip route network [ mask ] {address interface} [distance] [permanent]-Network เครือข่าย หรือ Subnet ปลายทาง
-Mask หมายถึงค่า Subnet mask
-Address IP Address ของ Router ใน Hop ต่อไป
-Interface ชื่อของ Interface ที่ใช้เพื่อเข้าถึงที่หมายปลายทาง-Distance หมายถึง Administrative Distance
-Permanentเป็น Optionถูกใช้เพื่อกำหนด เส้นทางที่ตั้งใจว่าจะไม่มีวันถอดถอนทิ้งถึงแม้ว่า จะปิดการใช้งาน Interface ก็ตาม
dynamic คือExterior Gateway Routing ProtocolDistance Vector Routing ProtocolLink State Routing Protocolเนื่องจาก จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีแนวคิดในการจัดตั้งเครือข่ายและอุปกรณ์ Router เพื่อเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย และเนื่องจากขอบข่ายของหลักวิชาการด้านนี้ ค่อนข้างกว้าง จึงขอตีกรอบให้แคบลง
โดยจะขอกล่าวถึงรายละเอียดเพียงบางส่วนในการจัดตั้ง Router ที่ท่านสามารถนำไปใช้ได้ รู้จักกับ Distance Vector Routing Protocol Distance Vectorเป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ต ส่งออกไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น VectorDistance Vectorบางครั้งจะถูกเรียกว่า "Bellman-Ford Algorithm"
ซึ่งโปรโตคอลนี้ จะทำให้ Router แต่ละตัว ที่อยู่บนเครือข่ายจะต้องเรียนรู้ลักษณะของ Network Topologyโดยการแลกเปลี่ยน Routing Information ของตัวมันเอง กับ Router ที่เชื่อมต่อกันเป็นเพื่อนบ้าน โดยตัว Router เองจะต้องทำการจัดสร้างตารางการเลือกเส้นทางขึ้นมาโดยเอาข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับจากเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง ( ข้อมูลนี้ครอบคลุมไปถึงระยะทางระหว่าง Router ที่เชื่อมต่อกัน)หลักการทำงานได้แก่การที่ Router จะส่งชุด สำเนาที่เป็น Routing Information ชนิดเต็มขั้นของมันไปยัง Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับมันโดยตรง ด้วยการแลกเปลี่ยน Routing Information กับ Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงนี้เอง ทำให้ Router แต่ละตัว จะรู้จักซึ่งกันและกัน หรือรู้เขารู้เรา กระบวนการแลกเปลี่ยนนี้ จะดำเนินต่อไปเป็นห้วงๆ ของเวลาที่แน่นอนDistance Vector Algorithm ค่อนข้างเป็นแบบที่เรียบง่ายอีกทั้งออกแบบเครือข่ายได้ง่ายเช่นกัน ปัญหาหลักของของ Distance Vector Algorithm ได้แก่ การคำนวณเส้นทาง จะซับซ้อนขึ้น เมื่อขนาดของเครือข่ายโตขึ้นตัวอย่างของโปรโตคอลที่ทำงานภายใต้Distance Vector Algorithm ได้แก่ อาร์ไอพี (RIP) หรือ
Routing InformationProtocolLink State RoutingLink State Routingถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Routerที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไปถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกันด้วยวิธีการของ Link State นี้ Router แต่ละตัวจะทำการสร้างผังที่สมบูรณ์ของเครือข่ายขึ้น จากข้อมูลที่มันได้รับจาก Router อื่นๆทั้งหมด
จากนั้นจะนำมาทำการคำนวณเส้นทางจากผังนี้โดยใช้ Algorithm ที่เรียกว่า Dijkstra Shortest Path AlgorithmRouter จะเฝ้าตรวจสอบดูสถานะของการเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่อง โดยการแลกเปลี่ยนระหว่างแพ็กเก็ตกับ Router เพื่อนบ้านแต่หาก Router ไม่ตอบสนองต่อความพยายามที่จะติดต่อด้วย หลายๆครั้ง การเชื่อมต่อก็จะถือว่าตัดขาดลงแต่ถ้าหากสถานะ ของ Router หรือการเชื่อมต่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลข่าวสารนี้จะถูก Broadcast ไปยัง Router ทั้งหมดที่อยู่ในเครือข่ายการจัดตั้ง Configure ให้กับวิธีการจัดเลือกเส้นทางแบบ Dynamicในการจัดตั้งค่าสำหรับการเลือกเส้นทาง (Routing)
แบบ Dynamic จะมี 2 คำสั่งสำหรับการใช้งาน ได้แก่ คำสั่ง Router และ Network
โดยคำสั่ง Router เป็นคำสั่งที่ทำให้เริ่มต้นการเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้น รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้Router (config)#router protocol [keyword]
ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายรายละเอียดของรูปแบบคำสั่งProtocol เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบใดแบบหนึ่ง
ระหว่าง RIP IGRP OSPFหรือ Enhanced IGRPKeyword
ตัวอย่าง เช่น เลขหมายของ Autonomous ซึ่งจะถูกนำมาใช้กับโปรโตคอลที่ต้องการระบบ Autonomous ได้แก่ โปรโตคอล IGRPคำสั่ง Network ก็เป็นคำสั่งที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเช่นกัน เนื่องจากมันสามารถกำหนดว่า Interface ใดที่จะเกี่ยวข้องกับการรับหรือส่ง Packet
เพื่อการ Update ตารางเลือกเส้นทาง ขณะเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้นคำสั่ง Network จะเป็นคำสั่งที่ทำให้ โปรโตคอลเลือกเส้นทางเริ่มต้นทำงานบน Interface ต่างๆ ของ Routerอีกทั้งยังทำให้ Router สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์เครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ ได้อีกด้วย
รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้Router (config-router)#network network- numberNetwork-number ในที่นี้หมายถึง เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันโดยตรง และ Network Numberจะต้องอยู่ในมาตรฐาน เลขหมาย ของ INTERNIC
2.จงบอกคำสั่งในแต่ละโหมดมาอย่างน้อย 5 คำสั่ง
ตอบ คำสั่งaccess
enableเป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว
clear
เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราวconnectใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminaldisableปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged modedisconnectยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ networkenableเข้าสู่ privileged Exec modeexitออกจากการใช้ User Exec modhelpใช้เพื่อแสดงรายการ helplatเปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)lockใช้เพื่อ lock terminalloginloginเข้ามาเป็น userlogoutexit ออกจาก EXECmrinfoใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของRouter เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่ง
mstat
แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router mtraceใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทางname-connectionเป็นการให้ชื่อกับ
การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่padเปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PADPingใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อpppใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPPresumeใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้งrlogin
เปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกลshowแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบันslipเริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)
systatเป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบtelnetเป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnetterminalเป็นการจัด Parameter ของ Terminal Linetracerouteเป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทางtunnelเปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnelwhereแสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน
3. Command prompt ในโหมดต่างๆ
ตอบ Command Mode Command Mode หลักภายใน Cisco IOS ได้แก่User Exec ModePrivilegedExec ModeGlobal Configuration ModeInterface ConfigurationBoot Mode

4. Use exec mode พร้อมรายละเอียด
ตอบ Command Mode
หลักภายใน Cisco IOSได้แก่User Exec ModePrivileged Exec ModeGlobal Configuration ModeInterface ConfigurationBoot ModeUser Exec ModeUser Exec Mode
เป็นโหมดแรกที่ท่านจะต้อง Enter เข้าไป เมื่อRouter เริ่มทำงาน วิธีที่จะรู้ว่าท่านได้เข้าสู่ User Exec Mode จาก Prompt ของ Router ได้แก่ Prompt ที่แสดงบนหน้าจอ
ได้แก่ ชื่อของ Router แล้วตามด้วยเครื่องหมาย >เช่นRouterhostname >ต่อไปนี้ เป็นตารางแสดงรายการคำสั่งภายใต้ User Exec Commandsตารางที่1แสดงรายการคำสั่ง
ภายใต้ User Exec Commandsคำสั่งaccess-enableเป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราวclearเป็นการ reset ค่า configureต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราวconnectใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminaldisableปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged modedisconnect
ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับnetworkenableเข้าสู่ privileged Exec modeexitออกจากการใช้ User Execmodehelpใช้เพื่อแสดงรายการ helplatเปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)lockใช้เพื่อ lock terminalloginloginเข้ามาเป็น userlogoutexit ออกจาก EXECmrinfoใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ
Versionและสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่งmstatแสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้วmtraceใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจากปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทางname
-connectionเป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่padเปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PADPingใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อpppใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPPresumeใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้งrloginเปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกลshowแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบันslipเริ่มการใช้งานSlip (serial line protocol)systatเป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบtelnetเป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnetterminalเป็นการจัด Parameter ของ Terminal Linetracerouteเป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทางtunnelเปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnelwhereแสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน
5.คำสั่งที่ใช้ตรวจสอบสถานะของRout จงบอกอย่างน้อย 5 คำสั่ง
ตอบ access-enable
เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว
clear
เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว
connect
ใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminaldisableปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged modedisconnectยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับnetworkenableเข้าสู่ privileged Exec modeexit
ออกจากการใช้ User Exec modehelpใช้เพื่อแสดงรายการ helplatเปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)lockใช้เพื่อ lock terminalloginloginเข้ามาเป็น userlogoutexitออกจาก EXECmrinfoใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router
ตัวหนึ่งmstatแสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้วmtraceใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทางname-connectionเป็นการให้ชื่อกับ
การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่padเปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PADPingใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อpppใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPPresumeใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้งrloginเปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกลshowแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบันslipเริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)
systat
เป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบtelnetเป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnetterminalเป็นการจัด Parameterของ Terminal Linetracerouteเป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทางtunnelเปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnelwhereแสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน
6. การเลือกเส้นทางแบบ Static คืออะไร
ตอบ การเลือกเส้นทางแบบ Static นี้ การกำหนดเส้นทางการคำนวณเส้นทางทั้งหมดกระทำโดยผู้บริหาจัดการเครือข่าย ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัวดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย
จะต้องให้ผู้บริหารจัดการดูแล เครือข่า เข้ามาจัดการทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีการใช้ วิธีการทาง Static เช่นนี้ มีประโยชน์เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังนี้
-เหมาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก
-เพื่อผลแห่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่าข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว
-ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้น
-ช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก เนื่องจากไม่มีปัญหาการ Broadcast หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Router ที่มาจากการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางการจัดตั้ง Configurationสำหรับการเลือกเส้นทางแบบ Staticเป็นที่ทราบดีแล้วว่า การเลือกเส้นทางแบบ Static เป็นลักษณะการเลือกเส้นทางที่ถูกกำหนดโดยผู้จัดการเครือข่าย เพื่อกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ตายตัว หรือเจาะจงเส้นทางปกติ Router สามารถ Forward Packet ไปข้างหน้า บนเส้นทางที่มันรู้จักเท่านั้น ดังนั้นการกำหนดเส้นทางเดินของแพ็กเก็ตให้กับ Routerจึงควรให้ความระมัดระวังวิธีการจัด Configure แบบ Static Route ให้กับ Router Cisco ให้ใส่คำสั่ง ip route ลงไปที่ Global Configuration Mode
มีตัวอย่างการใช้คำสั่ง ดังนี้ip route network [ mask ]{address interface} [distance] [permanent]-Network เครือข่าย หรือ Subnet ปลายทาง-Mask หมายถึงค่า Subnet mask-Address IP Address ของ Router ใน Hop ต่อไป-Interface ชื่อของ Interface ที่ใช้เพื่อเข้าถึงที่หมายปลายทาง-Distance หมายถึง Administrative Distance-Permanent เป็น Option ถูกใช้เพื่อกำหนด เส้นทางที่ตั้งใจว่าจะไม่มีวันถอดถอนทิ้ง ถึงแม้ว่า จะปิดการใช้งาน Interface ก็ตาม
7. การเลือกเส้นทางแบบ Dynamicคืออะไร
ตอบ dynamic คือ : ประเภทของโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamicโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic มีอยู่ หลายรูปแบบ ดังนี้ Exterior Gateway Routing ProtocolDistance Vector Routing ProtocolLink State Routing Protocol
เนื่องจาก จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีแนวคิดในการจัดตั้งเครือข่ายและอุปกรณ์ Router เพื่อเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย และเนื่องจากขอบข่ายของหลักวิชาการด้านนี้ ค่อนข้างกว้าง จึงขอตีกรอบให้แคบลง โดยจะขอกล่าวถึงรายละเอียดเพียงบางส่วนในการจัดตั้ง Router ที่ท่านสามารถนำไปใช้ได้ รู้จักกับ Distance Vector Routing Protocol Distance Vectorเป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ต ส่งออก ไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า
เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น VectorDistance Vectorบางครั้งจะถูกเรียกว่า "Bellman-Ford Algorithm" ซึ่งโปรโตคอลนี้ จะทำให้ Router แต่ละตัว ที่อยู่บนเครือข่ายจะต้องเรียนรู้ลักษณะของ Network Topology โดยการแลกเปลี่ยน Routing Information ของตัวมันเอง กับ Router ที่เชื่อมต่อกันเป็นเพื่อนบ้าน โดยตัว Router เองจะต้องทำการจัดสร้างตารางการเลือกเส้นทางขึ้นมา โดยเอาข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับจากเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง ( ข้อมูลนี้ครอบคลุมไปถึงระยะทางระหว่าง Router ที่เชื่อมต่อกัน)
หลักการทำงานได้แก่การที่ Router จะส่งชุด สำเนาที่เป็น Routing Information ชนิดเต็มขั้นของมันไปยัง Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับมันโดยตรง ด้วยการแลกเปลี่ยน Routing Information กับ Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงนี้เองทำให้ Router แต่ละตัว จะรู้จักซึ่งกันและกัน หรือรู้เขารู้เรา กระบวนการแลกเปลี่ยนนี้จะดำเนินต่อไปเป็นห้วงๆ ของเวลาที่แน่นอนDistance Vector Algorithm ค่อนข้างเป็นแบบที่เรียบง่าย อีกทั้งออกแบบเครือข่ายได้ง่ายเช่นกัน ปัญหาหลักของของ Distance Vector Algorithm ได้แก่ การคำนวณเส้นทาง จะซับซ้อนขึ้น เมื่อขนาดของเครือข่ายโตขึ้นตัวอย่างของโปรโตคอลที่ทำงานภายใต้ Distance Vector Algorithm ได้แก่ อาร์ไอพี (RIP) หรือ Routing Information ProtocolLink State RoutingLink State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Routerที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไป ถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกันด้วยวิธีการของ Link State นี้ Router แต่ละตัวจะทำการสร้างผังที่สมบูรณ์ของเครือข่ายขึ้น จากข้อมูลที่มันได้รับจาก Router อื่นๆทั้งหมด จากนั้นจะนำมาทำการคำนวณเส้นทางจากผังนี้โดยใช้ Algorithm ที่เรียกว่า Dijkstra Shortest Path AlgorithmRouter จะเฝ้าตรวจสอบดูสถานะของการเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่อง โดยการแลกเปลี่ยนระหว่างแพ็กเก็ตกับ Router เพื่อนบ้าน แต่หาก Router
ไม่ตอบสนองต่อความพยายามที่จะติดต่อด้วย หลายๆครั้ง การเชื่อมต่อก็จะถือว่าตัดขาดลง แต่ถ้าหากสถานะ ของ Router หรือการเชื่อมต่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลข่าวสารนี้จะถูก Broadcast ไปยัง Router ทั้งหมดที่อยู่ในเครือข่ายการจัดตั้ง Configure ให้กับวิธี การจัดเลือกเส้นทางแบบ Dynamicในการจัดตั้งค่าสำหรับการเลือกเส้นทาง (Routing) แบบ Dynamic จะมี 2 คำสั่งสำหรับการใช้งาน ได้แก่ คำสั่ง Router และ Network โดยคำสั่ง Router เป็นคำสั่งที่ทำให้เริ่มต้นการเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้น
รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้
Router (config)#router protocol [keyword]ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายรายละเอียดของรูปแบบคำสั่งProtocol เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบใดแบบหนึ่ง ระหว่าง RIP IGRP OSPF หรือ Enhanced IGRPKeywordตัวอย่าง เช่น เลขหมายของ Autonomous ซึ่งจะถูกนำมาใช้กับโปรโตคอลที่ต้องการระบบ Autonomous ได้แก่ โปรโตคอล IGRPคำสั่ง Network ก็เป็นคำสั่งที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเช่นกัน เนื่องจากมันสามารถกำหนดว่า Interface ใดที่จะเกี่ยวข้องกับการรับหรือส่ง Packet เพื่อการ Update ตารางเลือกเส้นทาง ขณะเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้นคำสั่ง Network จะเป็นคำสั่งที่ทำให้ โปรโตคอลเลือกเส้นทางเริ่มต้นทำงานบน Interface ต่างๆ ของ Router อีกทั้งยังทำให้ Router สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์เครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ ได้อีกด้วย
รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้
Router (config-router)#network network
- numberNetwork-number ในที่นี้หมายถึง เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันโดยตรง และ Network Number จะต้องอยู่ในมาตรฐาน เลขหมาย ของ INTERNIC

8. Protocal ที่เลือกเส้นทางแบบ dynamic มีอะไรบ้าง
ตอบ โปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic มีอยู่ หลายรูปแบบ ดังนี้
1. Interior Gateway Routing Protocol
2.Exterior Gateway Routing Protocob
3. Distance Vector Routing Protocol
4. Link State Routing ProtocolInterior เป็น Protocolที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ระหว่าง Roter ภายในองค์กรเดียวกัน ซึ่งได้แก่ RIP , IGRP ,EIGRP และ OSPF Exteriorเป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ต่างองค์กรกันหรือความน่าเชื่อถือต่างกัน ซึ่งได้แก่ BGP, EGP Distance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ตส่งออกไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด
และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น VectorLink State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithmด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไปถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกันRouting Protocols (เส้นทางการเชื่อมต่อ)Exterior routing Protocol (EGP) เป็นโปรโตคอล สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ router ระหว่าง 2 เครือข่ายของ gateway host ในระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัติ ซึ่ง EGP มีการใช้โดยทั่วไป
ระหว่าง host บนอินเตอร์เน็ตเพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศของตาราง routing
โดยตาราง routing ประกอบด้วยรายการ router ตำแหน่งที่ตั้ง และเมทริกของค่าใช้จ่ายของแต่ละ routerเพื่อทำให้สามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด กลุ่มของ router แต่ละกลุ่มจะใช้เวลาภายใน 120 วินาที ถึง 480 วินาที ในการส่งข้อมูลส่งตาราง routing ทั้งหมดไปยังเครือข่ายอื่น ซึ่ง
EGP
-2 เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ EGP Border Gateway Protocol (BGP) เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยังrouterแต่ละตัวเพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด host ที่ใช้การติดต่อด้วยประเภทของ Routing ภายใน Network ที่เชื่อมต่อกับเนตเวิคโดยตรงRouting Information Protocol (RIP) เป็นโปรโตคอลที่ใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับการจัดการสารสนเทศของ router
ภายในเครือข่าย เช่น เครือข่าย LAN ของบริษัท หรือการติดต่อภายในกลุ่ม ของเครือข่าย RIP ได้รับการจัดชั้นโดย Internet Engineering Task Force (IETF) ให้เป็นหนึ่งในโปรโตคอลของInternet Gateway Protocol (หรือ InteriorGatewayProtocol)Open Shortest Path First (OSPF)
ถือเป็น เร้าติ้งโปรโตคอล (Routing Protocol) ตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในระบบเน็ตเวิร์ก เนื่องจากมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น การที่ตัวมันเป็น Routing Protocol แบบ Link State, การที่มีอัลกอรึทึมในการค้นหาเส้นทางด้วยตัวเอง ซึ่งเปรียบเสมือนว่า ตัวของ เราเตอร์ที่รัน OSPF ทุกตัวเป็นรูท (Root) หรือ จุดเริ่มต้นของระบบไปยังกิ่งย่อยๆ หรือโหนด (Node) ต่างๆ ซึ่งเป็นเทคนิคในการลดเส้นทางที่วนลูป (Routing Loop) ของการ Routing ได้เป็นอย่างดีEnhance Interior Gateway Routing Protocol (EIGRP) นั้นถือได้ว่าเป็น เราติ้งโปรโตคอลที่มีความรวดเร็วสูงสุดของซิสโก้ในการค้นหาเส้นทางภายใน Intra
-AS(Interior Routing Protocol: เราติ้งโปรโตคอลภายใน Autonomous System) ซึ่ง ในเราติ้งโปรโตคอลแบบ EIGRP นี้ จะเป็นการนำเอาข้อดีของการเราติ้งแบบ Distance Vector และ Link Stateมาผสมผสานกัน (ในหนังสือบางเล่มจะเรียก เราติ้งโปรโตคอลแบบนี้ว่า “Hybrid”(ลูกผสม) หรือ Advanced Distance Vector)
9. อธิบาย Protocal Distance Vector ให้เข้าใจ
ตอบ ลักษณะที่สำคัญของการติดต่อแบบ Distance-vectorคือ ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล routing table เอาไว้พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก จากรูป RouterA จะทราบว่าถ้าต้องการส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายไปยังเครื่องที่อยู่ใน Network B แล้วนั้นข้อมูลจะข้าม Router ไป 1 ครั้ง หรือเรียกว่า 1 hop ในขณะที่ส่งข้อมูลไปยังเครื่องใน Network C ข้อมูลจะต้องข้ามเครือข่ายผ่าน Router A ไปยัง Router B เสียก่อน ทำให้การเดินทางของข้อมูลผ่านเป็น 2 hop อย่างไรก็ตามที่
Router B จะมองเห็น Network B และ Network C อยู่ห่างออกไปโดยการส่งข้อมูล 1 hop และ Network A เป็น2 hop ดังนั้น Router A และ Router B จะมองเห็นภาพของเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่แตกต่างกันเป็นตารางข้อมูล routing table ของตนเอง จากรูปการส่งข้อมูลตามลักษณะของ Distance-vector routing protocol จะเลือกหาเส้นทางที่ดีที่สุดและมีการคำนวณตาม routing algorithm เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา ซึ่งมักจะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดและมีจำนวน hop น้อยกว่า โดยอุปกรณ์ Router ที่เชื่อมต่อกันมักจะมีการปรับปรุงข้อมูลใน routing table อยู่เป็นระยะๆ ด้วยการ Broadcast ข้อมูลทั้งหมดใน routing table ไปในเครือข่ายตามระยะเวลาที่ตั้งเอาไว้การใช้งานแบบ
Distance-vector เหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและมีการเชื่อมต่อที่ไม่ซับซ้อนเกินไป ตัวอย่างโปรโตคอลที่ทำงานเป็นแบบ Distance-vector ได้แก่ โปรโตคอล RIP (Routing Information Protocol) และโปรโตคอล IGRP (Interior Gateway Routing Protocol) เป็นต้น
10. Protocol BGP คืออะไรมีหลักการทำงานอย่างไร
ตอบ Border Gateway Protocol (BGP)
เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยัง router
แต่ละตัว เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด host ที่ใช้การติดต่อด้วย BGP จะใช้ Transmission Control Protocol (TCP)และส่งข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วของตาราง router เฉพาะ host ที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง จึงมีผลเฉพาะส่วนของตาราง router ที่ส่ง
BGP-4 เป็นเวอร์ชันล่าสุด ซึ่งให้ผู้บริหารระบบทำการคอนฟิก cost metric ตามนโยบาย การติดต่อด้วย BGP ของระบบ แบบอัตโนมัติที่ใช้ Internet BGP (IBGP)จะทำงานได้ไม่ดีกับ IGP เนื่องจาก router ภายในระบบอัตโนมัติต้องใช้ตาราง routing 2 ตารางคือ ตารางของ IGP (Internet gateway protocol)และตารางของ IBGP BGP เป็นโปรโตคอลที่ทันสมัยกว่า Exterior Gateway Protocol
11. สายใยแก้วนำแสงมีกี่ชนิด
ตอบ ชนิดคือไฟเบอร์ออฟติค
12. สัญญาณแก้วใยแก้วนำแสงต่างๆ
ตอบ อนาล็อกกับดิจิตอล
13. จงบอกข้อดีของเส้นใยแก้วนำแสง
ตอบ 1. มีน้ำหนักเบาและไม่เป็นสนิม ซึ่งเหมาะมากสำหรับใช้งานในยานอวกาศ และรถยนต์
2. เส้นใยแสง 1 เส้น สามารถที่จะมีช่องสัญญาณเสียงได้มากเท่ากับ 1500 คู่สาย
3. ความห่างของตัวขยายสัญญาณสำหรับเส้นใยแสงมีค่าตั้งแต่ 35 ถึง 80 กิโลเมตรซึ่งตรงข้ามกับสายธรรมดา ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 1 ถึงแค่ 1.5 กิโลเมตรเท่านั้น
4. เส้นใยแสงจะไม่มีการรบกวนจากฟ้าแลบ และการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
14. ขนาดของ core และ cladding ในเส้นใยแก้วนำแสงแต่ละชนิด
ตอบ แท่งควอร์ต ซึ่งผ่านกระบวนการ Modefied Chemical Vapor Deposition (MCVD)
แล้วจะถูกวางในแนวตั้งในหอดึง (Drawing Tower) ซึ่งจะถูกให้ความร้อนต่ออีก (2200 F)
และถูกดึงลงด้านล่าง โดยหลักการของการหลอมเหลวควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ และขบวนการการดึง
เพื่อจะทำให้เส้นใยแสงคุณภาพสูง มีความยาวประมาณ 6.25 กิโลเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 125 ไมโครเมตรศูนย์กลางซึ่งถูกเรียกว่า แกน หรือ CORE (เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 ไมโครเมตร) จะถูกล้อมรอบด้วยควอร์ตที่บริสุทธิ์น้อยกว่า ซึ่งถูกเรียกว่า ชั้นคลุม หรือ cladding (ขอบเขตประมาณ 117 ไมโครเมตร
15. การเชื่อมต่อดดยวิธีการหลอมรวม ทำได้โดยวิธีใด
ตอบ การเชื่อมต่อแบบหลอมรวม เป็นการเชื่อมต่อ Fiber Optic สองเส้นเข้าด้วยกัน โดยการให้ความร้อนที่ปลายของเส้น Fiber Optic จากนั้นปลายเส้น Fiber Optic จะถูกดันออกมาเชื่อมต่อกัน การเชื่อมต่อกันในลักษณะนี้ เป็นการเชื่อมต่อโดยถาวร จนทำให้ดูเหมือนรวมเป็นเส้นเดียวกัน การสูญเสียจากการเชื่อมต่อในลักษณะนี้ จะทำให้มีความสูญเสีย ประมาณ 0.01 - 0.2 dB ในขั้นตอนการเชื่อมต่อนี้ ความร้อนที่ทำให้ปลายเส้น Fiber Optic อ่อนตัวลงด้วยประกายไฟที่เกิดจากการ Arc ระหว่างขั้ว Electrode ขณะทำการ หลอมรวม ซึ่งจะยังผลให้การเชื่อมต่อของ Fiber Optic เป็นเนื้อเดียวกัน
การสอบ CCNA
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ network media
- การคอนฟิก router เบื้องต้นโดยใช้ Cisco IOS commands
- การติดตั้ง และคอนฟิกเน็ตเวิร์กบน LAN, WAN
- เข้าใจ และสามารถคอนฟิก routable protocols (IP, IPX, Apple Talk, etc.)
- เข้าใจ และสามารถคอนฟิก routing protocols (RIP, IGRP, EIGRP, etc.)
- ระบบความปลอดภัยบนเน็ตเวิร์กสถานที่คือกรุงเทพกับเชียงใหม่ส่วนค่าใช้จ่ายในการสอบ ประมาณ 8900
การสอบ CCNP
CCNP certification (Cisco Certified Network Professional) เป็น Network Specialist Certification ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ผู้ที่ได้รับ CCNP Certified นั้นมีความสามารถในการติดตั้ง, ปรับแต่งและแก้ปัญหากับอุปกรณ์ Routers Router, LAN Switching ตลอดจน Access Server ในระดับ enterprise ขององค์กรได้ ทั้งนี้ข้อสอบใหม่ จะเน้นหัวข้อเนื้อหาใหม่ในด้าน
security,converged networks, quality of service (QoS), virtual private networks (VPN)
และ broadband technologies.ในการสอบ CCNP มีทั้งหมด 4 วิชาราคาสอบอยู่ที่ประมาณ 6,450 บาทครับ
ทุกวิชาเท่ากันหมดครับสถานที่สอบที่ VNOHOW
การสอบ CCIECCIE
- Cisco Certified Internetwork Expert CCIE เป็น Cert ระดับสูงของ cisco โดยจะมี 4 Track ย่อยๆ แบ่งไปตามลักษณะของการทำงาน เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Cisco โดยแต่ละ Track จะแยกจากกันอย่างสิ้นเชิง หากต้องการทำงานในด้านใดในระดับสูง ก็เลือกจากข้อสอบในส่วนนี้Track ย่อยประกอบไปด้วยCCIE Service Provider CCIE Routing and Switching CCIE Security CCIE VoiceCisco Certified Internetwork Expert (CCIE) เป็นประกาศนียบัตรขั้นสูงสุดในส่วนของ Network Installation and Support Certificationและ Communication and Services Certification

สถานที่สอบ
1. Bangalore (บังกาลอร์,อินเดีย)
2. Beijing (ไบจิง,จีน)
3. Brussels (กรุงบรัสเซล,เบลเยี่ยม)
4. Dubai (ดูไบ)
5. Hongkokg (ฮ่องกง)
6. Research Triangle Park (RTP)
7. San Jose (สองสถานที่ข้างต้น 6,7 อยู่แถวๆโซนอเมริกา)
8. Sao_Paolo (เซ้าเปาโล,บราซิล)
9. Sydney (ซิดนีย์,ออสเตรเลีย)
10. Tokyo (โตเกียว,ญี่ปุ่น)ค่าใช้จ่ายในเรื่อง CCIE Boot CAMP 250000 บาท ค่าสอบ มาคือว่าWriting ค่าสอบ 300 เหรียญ หรือ 10500 บาทLab ค่าสอบ 1250
ข้อสอบเราเตอร์ (ปรนัย10ข้อ)
1.เราเตอร์ (Router)คืออะไร
ก.เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทางจากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้
ข.อุปกรณ์สวิตช์มีหลายแบบ หากแบ่งกลุ่มข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเล็ก ๆ และเรียกใหม่ว่า "เซล" (Cell)
ค.เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ก
2.เราเตอร์ (Router) มีประโยชน์อย่างไร
ก.สามารถนำข้อมูลอื่นมาประกอบภายในได้ก็เรียกว่า "เฟรมรีเลย์" (Frame Relay)
ข.เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทาง ที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อออกช่องทางของ Port WAN ที่เป็นแบบจุดไปจุด
ค.อุปกรณ์เชื่อมโยง ทั้งหมดนี้รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จากเครือข่ายพื้นฐานเป็นอีเทอร์เน็ต
ง.มีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้ใช้กับความเร็วของการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก
เฉลย ข
3.อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ต หรือเรียอีกอย่างว่าอะไร
ก.เอทีเอ็มสวิตช์(ATM Switch)
ข.เซลสวิตช์" (Cell Switch)
ค.เฟรมรีเลย์" (Frame Relay)
ง.สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล(Data Switched Packet)
เฉลย ง.
4.เราเทอร์ทำงานบนเลเยอร์ที่เท่าไร
ก. เลเยอร์ที่1 ตามมาตรฐานของ OSI Mode
lข. เลเยอร์ที่2 ตามมาตรฐานของ OSI Model
ค. เลเยอร์ที่3 ตามมาตรฐานของ OSI Model
ง. เลเยอร์ที่4 ตามมาตรฐานของ OSI Model
เฉลย ค
5.ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย
ก.บริดจ์ (Bridge)
ข. เราเตอร์ (Router)
ค.สวิตช์ (Switch)
ง.แลนด์ (Lan)
เฉลย ง
6.ข้อใดคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ต
ก.บริดจ์ (Bridge)
ข. เราเตอร์ (Router)
ค.สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล (Data Switched Packet)
ง.สวิตช์ (Switch)
เฉลย ค
7.ในอินเทอร์เน็ตมักเรียกเราเตอร์ว่าอะไร
ก. ไอพีเราเตอร์ (IP router)
ข. เราเตอร์ (Router)
ค. สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล (Data Switched Packet)
ง. สวิตช์ (Switch)
เฉลย ก
8.เราเตอร์มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับอะไร
ก.ไอพีเราเตอร์ (IP router)
ข. เราเตอร์ (Router)
ค.สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล (Data Switched Packet)
ง.สวิตช์ (Switch)
เฉลย ง
9.Router เป็นตัวชี้ทางเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตไปยัง
ก.Network
ข. User
ค.ISP
ง. Email
เฉลย ค
10.ข้อดีของไฟร์วอลล์ เราเตอร์คือข้อใด
ก. เพิ่มฟังก์ชันการทำงานได้ไม่จำกัด
ข. ประสิทธิภาพสูงมีจำนวนอินเตอร์เฟสมาก
ค. อาจมีความเสี่ยงจากระบบปฏิบัติการที่ใช้
ง. อาจต้องการหน่วยความจำมาก
เฉลย ข
เราเตอร์(อัตนัย)
ข้อสอบอัตนัย
1.จงบอกความหมายของ Router
เฉลย เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการ ทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มากโดยเราท์เตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่าง แต่ละเครือข่าย
2.อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลักทั้ง LAN และ WAN ประกอบด้วยอะไร
เฉลย 1.บริดจ์ (Bridge) 2.เราเตอร์ (Router) 3.สวิตช์ (Switch)
3. ADSL Router คืออุปกรณ์อะไร
เฉลย อุปกรณ์เชื่อมต่อ ADSL มีคุณสมบัติในการแชร์อินเทอร์เน็ตภายในองค์กร เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เราเตอร์มาพร้อมกับพอร์ต RJ45 ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครือข่ายเช่น HUB หรือ SWITCH
4.หน้าที่ของเราเตอร์คืออะไร
เฉลย หน้าที่ของเราเตอร์คือ จัดแบ่งเครือข่ายและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อนำส่งแพ็กเก็ต เราเตอร์จะป้องกันการบรอดคาสต์แพ็กเก็ตจากเครือข่ายหนึ่งไม่ให้ข้ามมายังอีกเครือข่ายหนึ่ง
5.เมื่อเราเตอร์รับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทางแล้ว เราเตอร์จะนำม เปรียบเทียบกับอะไรและส่งต่อไปที่ไหน
เฉลย เมื่อเราเตอร์รับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทางแล้ว จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทาง ที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อออกช่องทางของ Port WAN ที่เป็นแบบจุดไปจุดก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่าย WAN ได้
6.สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล (Data Switched Packet)ทำหน้าที่อะไร
เฉลย สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล (Data Switched Packet)ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ต
7.ข้อดีของไฟร์วอลล์ เราเตอร์คืออะไร
เฉลย มีประสิทธิภาพสูงมีจำนวนอินเตอร์เฟสมาก
8.เราเตอร์มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับอะไร
เฉลย สวิตช์ (Switch)
9. Router อยู่ใน Layer (OSI Protocol Stack)อะไร
เฉลย Network Layer
10.เมื่อต้องการดูค่า routing ควรใช้คำสั่งอะไร
เฉลย show ip route

การบาร

เราเตอร์ (Router)
เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทาง จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทาง ที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อออกช่องทางของ Port WAN ที่เป็นแบบจุดไปจุด ก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่าย WAN ได้ปัจจุบันอุปกรณ์เราเตอร์ได้รับการพัฒนาไปมากทำให้การใช้งานเราเตอร์มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อเชื่อมอุปกรณ์เราเตอร์หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเตอร์สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการหาเส้นทางเดินที่สั้นที่สุด เลือกตามความเหมาะสมและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเองได้เมื่อเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการทำงานได้เร็วขึ้น จึงมีผู้พัฒนาอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ต หรือเรียกว่า "สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล" (Data Switched Packet) โดยลดระยะเวลาการตรวจสอบแอดเดรสลงไป การคัดแยกจะกระทำในระดับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เชิงความเร็วและความแม่นยำสูงสุด อุปกรณ์สวิตช์ข้อมูลจึงมีเวลาหน่วงภายในตัวสวิตช์ต่ำมาก จึงสามารถนำมาประยุกต์กับงานที่ต้องการเวลาจริง เช่น การส่งสัญญาณเสียง วิดีโอ ได้ดี

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การเข้าสาย LAN

การเข้าสาย LAN

การเข้าหัวสาย UTP นั้นมีอยู่สองมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้คือ TIA/EIA 568A และ 568B ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียงลำดับสายจะแสดงดังตารางและรูปด้านล่าง

PIN # Signal TIA/EIA 568A TIA/EIA 568B
1 Transmit+ ขาวเขียว ขาวส้ม
2 Transmit+ เขียว ส้ม
3 Receive+ ขาวส้ม ขาวเขียว
4 N/A น้ำเงิน น้ำเงิน
5 N/A ขาวน้ำเงิน ขาวน้ำเงิน
6 Receive+ ส้ม เขียว
7 N/A ขาวน้ำตาล ขาวน้ำตาล
8 N/A น้ำตาล น้ำตาล

สาย UTP และหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45

การทำสายแพทช์คอร์ดหรือสายที่เชื่อมระหว่างฮับกับคอมพิวเตอร์นั้น ปลายทางทั้งสองข้างจะต้องเข้าตามมาตรฐาน TIA/EIA 568B ส่วนสายครอสโอเวอร์หรือสายที่เชื่อมระหว่างฮับกับฮับหรือคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์นั้น ปลายสายด้านหนึ่งต้องเข้าแบบ TIA/EIA 568A ส่วนปลายสายอีกด้านหนึ่งต้องเข้าแบบ TIA/EIA 568B

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ขอสอบคำสั่ง netstat

ขอสอบ คำสั่ง netstat
1.การตรวจสอบแบบแมนนวลโดยใช้ยูทิลิตี้ netstat ซึ่งมีมาพร้อมกับระบบ
ก.Windows XP
ข.Windows Vista
ค.Windows XP และ Windows Vista
ง.ไม่มีขอทูก
2.คำสั่ง netstat ใช้ในการตรวจสอบการทำงานของโปรโตคอล
ก.TCP
ข.UDP
ค.ICMD
ง.ทูกทุกขอ
3.คำสั่ง netstat ใช้ในการตรวจสอบการทำงานของโปรโตคอลมีกีตัว
ก.1ตัว
ข.2ตวั
ค.3ตวั
ง.4ตัว
4.State เป็นสถานะ ESTABLISHED หมายความว่า
ก.เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง 2 เครื่องได้แล้ว
ข.เป็น IP ของเครื่องที่มา hack
ค.เป็นสถานะ LISTENING
ง.เป็นสถานะ TIME_WAIT
5.สีเหลือง เป็นสถานะ
ก.ESTABLISHED
ข.LISTENING
ค.TIME_WAIT
ง.Local Address qillip:telnet
6.การใช้โปรแกรม NETSTAT
ก.เป็นคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบ Network เกี่ยวกับการเชื่อมต่อ Port
ข.เป็นคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบ DOS Prompt
ค.เป็นคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบOpiton
ง.เป็นคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบHACK
7.คือโปรโตคอลที่เครื่องกำลังเชื่อมต่ออยู่
ก. Proto TCP
ข.Local Address qillip:telnet
ค.Foreign Address qillip
ง.State LISTENING
8.สีฟ้า เป็นสถานะ
ก.LISTENING
ข. TIME_WAIT
ค.ESTABLISHED
ง. Foreign Address
9.การใช้ netstat ตรวจสอบการถูกยิงด้วย syn
ก.คำสั่ง netstat -ntu grep SYN_RECV
ข.คำสั่ง netstat -ntu grep ESTABLISHED
ค.คำสั่ง install iptraf
ง.คำสั่ง iptables -A INPUT
10. การใช้ netstat นับจำนวน connetion ของแต่ละ IP
ก.iptables -A INPUT -s xxx.xxx.xxx.xxx -j DROP
ข.iptables -A INPUT -s xxx.xxx.xxx.xxx/xx -j DROP
ค.คำสั่ง netstat -ntu grep ESTABLISHED
ง.iptables -A INPUT -p udp --dport 80 -j DROP

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การบ้าน 18.06.2551

1. ความหมายของIEEE 802.3
IEEE 802.3 หรือ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็นเครือข่ายที่มีความเร็วสูงการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที สถานีในเครือข่ายอาจมีโทโปโลยีแบบัสหรือแบบดาว IEEE ได้กำหนดมาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งทำงานที่ความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีไว้หลายประเภทตามชนิดสายสัญญาณเช่น
• 10Base5 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา (Thick Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 500 เมตร
• 10Base2 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอ๊กเชียลแบบบาง (Thin Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 185 เมตร
• 10BaseT อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบดาวซึ่งใช้ฮับเป็นศูนย์กลาง สถานีและฮับเชื่อมด้วยสายยูทีพี (Unshield Twisted Pair) ด้วยความยาวไม่เกิน 100 เมตร
รูปที่ข้างล่าง แสดงถึงลักษณะเครือข่ายอีเทอร์เน็ตแยกตามประเภทของสายสัญญาณ รหัสขึ้นต้นด้วย 10 หมายถึงความเร็วสายสัญญาณ 10 เมกะบิตต่อวินาที คำว่า “Base” หมายถึงสัญญาณชนิด “Base” รหัสถัดมาหากเป็นตัวเลขหมายถึงความยาวสายต่อเซกเมนต์ในหน่วยหนึ่งร้อยเมตร (5=500, 2 แทนค่า 185) หากเป็นอักษรจะหมายถึงชนิดของสาย เช่น T คือ Twisted pair หรือ F คือ Fiber optics
ส่วนมาตรฐานอีเทอร์เน็ตความเร็ว 100 เมกกะบิตต่อวินาทีที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ 100BaseTX และ 100BaseFX สำหรับอีเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบกิกะบิตอีเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ตัวอย่างของมาตรฐานกิกะบิตอีเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้แก่ 100BaseT, 100BaseLX และ 100BaseSX เป็นต้น อีเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล ซีเอสเอ็มเอ/ซีดี (CSMA/CD : Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) เป็นตัวกำหนดขั้นตอนให้สถานีเข้าครอบครองสายสัญญาณ ในขณะเวลาหนึ่งจะมีเพียงสถานีเดียวที่เข้าครองสายสัญญาณเพื่อส่งข้อมูล สถานีที่ต้องการส่งข้อมูลต้องการตรวจสอบสายสัญญาณว่ามีสถานีอื่นใช้สายอยู่หรือไม่ ถ้าสายสัญญาณว่างก็ส่งข้อมูลได้ทันที หากไม่ว่างก็ต้องคอยจนกว่าสายสัญญาณว่างจึงจะส่งข้อมูลได้ ขณะที่สถานีหนึ่ง ๆ กำลังส่งข้อมูลก็ต้องตรวจสอบสายสัญญาณไปพร้อมกันด้วยเพื่อตรวจว่าในจังหวะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นมีสถานีอื่นซึ่งพบสายสัญญาณว่างและส่งข้อมูลมาหรือไม่ หากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นแล้ว ข้อมูลจากทั้งสองสถานีจะผสมกันหรือเรียกว่า การชนกัน (Collision) และนำไปใช้ไม่ได้ สถานีจะต้องหยุดส่งและสุ่มหาเวลาเพื่อเข้าใช้สายสัญญาณใหม่ ในเครือข่ายอีเทอร์เน็ตที่มีสถานีจำนวนมากมักพบว่าการทานจะล่าช้าเพราะแต่ละสถานีพยายามยึดช่องสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลและเกิดการชนกันเกือบตลอดเวลา โดยไม่สามารถกำหนดว่าสถานีใดจะได้ใช้สายสัญญาณเมื่อเวลาใด อีเทอร์เน็ตจึงไม่มีเหมาะกับการใช้งานในระบบจริง
2.10 Base 2
10 Base 2 เป็นรูปแบบต่อสายโดยใช้สาย Coaxial มีเส้นศูนย์กลาง 1/4 นิ้ว เรียกว่า Thin Coaxial สายจะมีความยาวไม่เกิน 180 เมตร
มาตรฐาน 10 Base 2 ความหมาย 10 คือความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps Base คือการส่งข้อมูลแบบ Baseband 2 คือความยาวสูงสุด 200 เมตร (185 – 200 เมตร ) 10 Base 2 เป็นแบบเครือข่ายที่ใช้สาย Coaxial แบบบาง (Thin Coaxial) ชนิด RG-58 A/U โดยจะมี Teminator (50 โอมห์ ) เป็นตัวปิดหัว และท้ายของเครือข่าย
ข้อกำหนดของ 10 Base 2
• ใช้สาย Thin Coaxial ชนิด RG-58 A/U
• หัวที่ใช้ต่อกับสายคือ หัว BNC
• ห้ามต่อหัว BNC เข้ากับ LAN Card โดยตรง ต้องต่อด้วย T-Connector เท่านั้น
• เครื่องตัวแรกและตัวสุดท้ายในเครือข่าย ต้องปิดด้วย Terminator ขนาด 50 โอมห์
• ความยาวของสายแต่ละเส้นที่ต่อระหว่าง Workstation ต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 0.5 เมตร
• สายสัญญาณต่อ 1 Segment ยาวไม่เกิน 200 เมตร (185 – 200 เมตร )
• ใน 1 Segment สามารถต่อเป็นเครือข่ายได้ไม่เกิน 30 เครื่อง
• ในกรณีที่ต้องการต่อมากกว่า 30 เครื่อง ต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Repeater เพื่อเพิ่ม Segment โดยสามารถต่อ Repeater ได้ไม่เกิน 4 Repeater ( ดังนั้น 4 Repeater = 5 Segment)
• ความยาวของสายสัญญาณทั้งหมด สูงสุด 1000 เมตร (200 เมตรต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment)
• จำนวนเครื่องสูงสุดในเครือข่าย 150 เครื่อง (30 เครื่องต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment)

3.10 Base 5
ความหมาย 10 คือความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps Base คือการส่งข้อมูลแบบ Baseband
• คือความยาวสูงสุด 500 เมตร 10 Base 5 เป็นแบบเครือข่ายที่มีลักษณะคล้ายกับ 10 Base 2 แต่จะใช้สาย Coaxial แบบหนา (Thick Coaxial หรือ Back Bone) เป็นสายชนิด RG-8 ซึ่งสายจะเป็นสีเหลืองและมีขนาดใหญ่โดย Teminator (50 โอมห์ ) เป็นตัวปิดหัว และท้ายของเครือข่าย เครือข่ายชนิด 10 Base 5 นี้ จะมีต่อจำนวนเครื่องได้มากกว่า และต่อในระยะได้ไกลกว่าแบบ 10 Base 2 แต่ในปัจจุบันมักไม่นิยมใช้กัน เนื่องจากต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ควรทราบ มีดังนี้ แผงวงจรเครือข่าย (LAN Card) คือแผงวงจรเครือข่ายที่เสียบไว้กับตัวเครื่อง และเชื่อมต่อด้วยสายเพื่อต่อเป็นเครือข่าย โดยแผงวงจรเครือข่ายนี้จะมีหัวเสียบเป็นชนิด DIX Connector Socket ( LAN Card ) ชนิด AUI ใช้กับมาตรฐาน 10 Base 5
ข้อกำหนดของ 10 Base 5
• ใช้สาย Thick Coaxial ชนิด RG-8
• หัวที่ใช้ต่อกับสายคือหัว DIX หรือบางทีอาจจะเรียกว่า หัว AUI
• เครื่องตัวแรกและตัวสุดท้ายในเครือข่ายต้องปิดด้วย N-Series Terminator ขนาด 50 โอมห์
• ระยะห่างระหว่าง Transceiver ต้องไม่ต่ำกว่า 2.5 เมตร
• Transceiver Cable จะมีความยาวได้ไม่เกิน 50 เมตร
• ใน 1 Segment สามารถต่อเป็นเครือข่ายได้ไม่เกิน 100 เครื่อง
• สายสัญญาณต่อ 1 Segment ยาวไม่เกิน 500 เมตร
• ในกรณีที่ต้องการต่อมากกว่า 100 เครื่อง ต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Repeater เพื่อเพิ่ม
Segment โดยสามารถต่อ Repeater ได้ไม่เกิน 4 Repeater (ดังนั้น 4 Repeater = 5 Segment)
• ความยาวของสายสัญญาณทั้งหมด สูงสุด 2,500 เมตร (500 เมตรต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment )
• จำนวนเครื่องสูงสุดในเครือข่าย 500 เครื่อง (100 เครื่องต่อ Segment คูณด้วย 5 Segment )
4.100BASE-FX
100BASE-FX Multimode LC SFP Transceiver (P/N: DEM-211) มอบประสิทธิภาพการทำงานระดับสูงให้กับแอพพลิเคชันการสื่อสารข้อมูลแบบซีเรียลออพติคัลดาต้า นอกจากนั้นยังประกอบด้วยตัวเชื่อมต่อที่มีการทำงานแบบดูเพล็กซ์ LC รวมถึงยังสามารถใช้งานร่วมกับมาตรฐานการสื่อสารแบบ IEEE 802.3u เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นเป็น 100 เมกะบิตต่อวินาที ในโหมดฮาฟดูเพล็กซ์สำหรับแอพพลิเคชันเคเบิลไฟเบอร์ ทั้งนี้การอินทริเกรทตัวรับส่งคุณภาพสูงของดีลิงค์นั้นก็เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ปราศจากอาการกระตุกของสัญญาณ และเพื่อให้การเชื่อมต่อแบบออพติคัลสามารถขยายออกไปได้มากยิ่งขึ้นโดยไม่มีการลดประสิทธิภาพลง อุปกรณ์นี้จึงช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะทางที่ไกลๆ ทั้งในส่วนของการใช้งานภายในอาคาร โรงงาน แคมปัสและในตัวเมืองมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น และเมื่อสวิตช์ 2 ตัวมีการเชื่อมต่อกันแล้วโดยใช้ตัวรับส่ง DEM-211 ทั้ง 2 ทาง ผู้ใช้งานจะได้รับอัตราเร็วของการเชื่อมต่อที่ระดับ 155 เมกะบิตต่อวินาที ยิ่งไปกว่านั้นยังได้มอบการเชื่อมต่อแบบไฟเบอร์ออพติค 100BASE-FX SFP บนพอร์ต Gigabit combo SFP ให้กับสวิตช์ของดีลิงค์อีกด้วย
5.100 Base F
100Base-Fสาย AMP OSP (Outside Plant) ถูกออกแบบมาเฉพาะ เพื่อการติดตั้งในพื้นที่ขนาดใหญ่ เพราะสามารถติดตั้งไว้บนเสาโยง หรือลอดท่อใต้ดิน เพื่อเชื่อมต่อระหว่างอาคาร สายถูกทดสอบตามมาตรฐาน TIA ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำหรับสายไฟเบอร์ออปติก ทั้งยังมีคุณสมบัติเกินมาตรฐานไปอีกขั้น จึงรองรับได้ทั้ง 100Base-F, 155/622 Mbps ATM และกิกะบิตอีเธอร์เน็ต

การบ้าน 18.06.2551

ออกขอสอบปรนัย
1. Subnet มาจากคำ อะไร
ก.Subnetwork
ข.collection
ค.Internet Request for Comment
ง.subnet mask
2.ข้อดีของการทำ Subnet Mask
ก.ทำให้เครือข่ายเวลา Broadcast ถามเสียเวลาน้อยกว่ามาก
ข.ทำให้แบ่งการใช้งานเป็นหลายๆวงได้ ซึ่งสะดวกต่อการดูแลรักษา
ค.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจ่าย Bandwidth ให้กับเครื่อง Client ต่างๆที่อยู่ในระบบ
ง.ถูกทุกขอ
3.127.0.0.0 lop back สำรับเครีองข่าย
ก.class A
ข.class B
ค.class c
ง.ไม่มีขอถูก
4.class A มี Host 2 24-2=16,777,214คือตั้งแต่
ก . 0.0.1 ถึง 255.255.25
ข .0.1.1 ถึง255.255.25
ค .0.0.1 ถึง255.255.24
ง .0.1.1 ถึง 255.255.24
5.class c มี Hostได้ 2
ก.8-2= 255
ข.8-2=254
ค.8-2=253
ง.8-2=252
6. Subnet Mask ไช้ตัวเลขขนาดใด
ก.64 บิต
ข.32 บิต
ค.16 บิต
ง. 8 บิต
7. subnet Mask 255.255.255.244 มีจำนวนเครืองใน
ก. 14
ข. 30
ค. 62
ง. 128
8.class A 255.0.0.0 ดิฟอลต็ซับน์ตมาสค์ฐานสอง
ก.11111111.00000000.00000000.00000000
ข.11111111.11111111.00000000.00000000
ค.11111111.00000000.00000000.11111111
ง. 11111111.00000000.00000000.11111111
9.Subnet Mask เป็นเลขฐานสองขนาดกีบิต
ก. 6 บิต
ข. 8 บิต
ค. 14 บิต
ง. 32 บิต
10. Class A มี 1 Byte สำหรับแสดง Class type และ Netid ส่วนอีก
ก. 1 Byte เป็น Hostid
ข. 2 Byte เป็น Hostid
ค. 3 Byte เป็น
Hostid
ง.ไม่มีขอถูก
ออกขอสอบ อัตนัย
1.หาจำนวน Bit ที่ Network Address จะต้องยืมจาก Host Address โดยใช้สูตร อะไร
แฉลย 1.นวน Bit ที่ Network Address จะต้องยืมจาก Host Address โดยใช้สูตร 2^x >=จำนวน Subnet ที่เราต้องการ
2. n เป็นจำนวนบิตของ Host ที่เหลือจากถูก Network Address ยืมไปแล้วจากตัวอย่างจำนวนบิตของ Host Address ถูกยืมไป 2 จาก 8 ดังนั้นจำนวนบิตหลังจากแบ่ง Subnet จึงเหลือแค่ 6 บิต ซึ่งจะได้
เฉลย 2. ( 2^6 )-2 = 62 Host
3.หน้าที่ของ Subnet Mask คืออะไรบ้าง
เฉลย 3.หน้าที่ของ Subnet Mask ก็คือ จะช่วยแยกแยะว่าส่วนใดภายใยหมายเลข IP Address เป็น Network Address และส่วนใดเป็น Host Address ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเวลาที่เรากำหนด IP Address เราจะต้องกำหนด Subnet Mask ไปด้วยทุกครั้ง
4.การเขียน IP Address และ Subnet Mask ในเอกสารเราจะเขียน168.108.2.1/16 แล้วเลข 16 มาได้อย่างไร
เฉลย 4.นั้นก็คือ Subnet Mask นั่นเอง เป็นการนับจำนวนบิตเลขฐานสองของ Subnet Mask ที่เป็นบิต 1 ทั้งหมด ซึ่งในที่นี้ Subnet Mask ก็คือ 255.255.0.0 เป็นเลขฐานสองก็คือ 11111111.11111111.00000000.00000000 นั่นเอง
5.การแบ่ง Subnet ใช้เทคนิคที่เรียกว่าอะไร
เฉลย 5. การแบ่ง Subnet ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Subnet Mask ซึ่งเป็นตัวเลขมีความยาว 32 บิตแบ่งออกเป็นสี่ชุดเช่นเดียวกับ ip แต่ค่าของ subnet mask จะขึ้นอยู่กับความต้องการในการแบ่ง subnet ว่าต้องการจำนวน subnet เท่าใดและมีจำนวนโฮสเท่าใด หากนำ subnet mask มาเขียนเป็นเลขฐานสอง จะมีลักษณะพิเศษคือ ขึ้นต้นด้วยเลข 1 มีจำนวนกี่ตัวก็ได้ ตามแต่ความต้องการในการแบ่ง suubnetและตำแหน่งที่เหลือจะมีค่าเป็น 0
6.mask 7bit ของ class B ได้กี่ host
เฉลย 2^9=512-2=510

7. mask 6 bit ของclass c ได้กี่ host
เฉลย 2^2=4-2=2

8 . mask 7bit ของ class b มีหมายเลข subnet mask คืออะไร
เฉลย 255.254.0.0

9. mask 2 bit class B หมายเลข subnet
เฉลย 2^2=4-2=2

10. mask 6 bit class a หมายเลข host
เฉลย 2^18=262144-2=262142




วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การบ้าน 11.06.51

basic ‘s datacommunicationCommunication

การย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้เกิดประโยชน์เทคโนโลยีสมัยนี้มีการเชื่อมต่อกันทั่วโลกWhy Study Data Communication? เพื่อที่จะได้วิธีการย้ายข้อมูลที่ถูกต้อง และในสมัยก่อนมีความลำบากมากในการสื่อสาร จึงนำมาเป็นตัวแทนในการสื่อสารนิยามการสื่อสารข้อมูลการสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการถ่ายทอด หรือการรับ-ส่งข้อมูล จากจุดใดจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ผ่านสื่อชนิดใดๆก็ได้ โดยข้อมูลจะหมายถึง ข้อความ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ก็ได้

ความหมาย ของ Basic’s IP AddressIP Address

คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุดการสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า Inter NIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง Inter NIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครื่อง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
1. Network Address 2. Computer Address การแบ่งขนาดของเครือข่าย เราสามารถแบ่งขนาดของการแจกจ่าย Network Address ได้ 3 ขนาดคือ
1. Class A nnn.ccc.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 1-126) เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากที่สุดถึง 16 ล้านหมายเลข
2. Class B nnn.nnn.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 128-191) เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากเป็นอันดับสอง คือ 65,000 หมายเลข
3. Class c nnn.nnn.nnn.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 192-233) เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้น้อยที่สุด คือ 256 หมายเลขnnn หมายถึง Network Address ccc หมายถึง Computer Address หมายเลขต้องห้าม เนื่องจากเครือข่ายก็อาจจำเป็นต้องใช้ IP Address ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจำกัดบางหมายเลขเพื่อใช้เป็นการภายใน
1. Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
2. Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
3. Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxxสำหรับภายในองค์กร ก็มีหมายเลขต้องห้ามเช่นกัน ได้แก่1. 127.xxx.xxx.xxx หมายเลขนี้ใช้สื่อสารกับตัวเอง2. 0.0.0.0

แปลง IP

209.123.226.168
11010001 01111011 11100010 10101000

198.60.70.81
11000110 00111100 01000110 01010001


CIDR
/22
11111111.11111111.11111100.00000000
Subnet Mask = 255. 255. 252. 0จำนวน
Host = (2^10) - 2 = 1024 - 2 = 1022 Host

/18
11111111.11111111.11000000.00000000
Subnet Mask = 255. 255. 192. 0จำนวน
Host = (2^14) -2 = 16384 -2 = 16382 Host

/27
11111111.11111111.11111111.11100000
Subnet Mask = 255. 255. 255. 240
จำนวน Host = (2^5) – 2 = 32 – 2 = 30 Host

ข้อสอบเรื่อง CIDR 5 ข้อ

1. Subnet Mask ของ Length (CIDR) /7 คือข้อ
ก. 248.0.0.0
ข. 252.0.0.0
ค. 254.0.0.0
ง. 255.0.0.0

2. Subnet Mask = 255. 255. 255. 240 แปลงเป็นเลขฐานสองได้ข้อใด
ก. 11000110 00111100 01000110 01010001
ข. 11111111 11111111 11111100 00000000
ค. 11111111 11111111 11000000 00000000
ง. 11111111 11111111 11111111 11100000



3. CIDR มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
ก. Super net
ข. subnet
ค. broadcast
ง. ไม่มีข้อถูก

4. ข้อใดคือ Subnet Mask ของ IP address 45 . 23 . 21 . 8
ก. 255 . 255 . 0 . 0
ข. 255 . 255 . 255 . 0
ค. 255 . 192 . 0 . 0
ง. 255 . 255 . 255 . 240เฉลย ก. 255 . 255 . 0 . 0

5. หมายเลข Host มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
ก.Prefix
ข. Suffix
ค. Perfix
ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ค

ข้อสอบเรื่อง IP 5 ข้อ
1. IP Address มีอยู่กี่บิต
ก. 4 บิต
ข. 8 บิต
ค. 16 บิต
ง. 32 บิต

2. IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คืออะไร
ก. Network Address และ Computer Address
ข. Computer Address และ Internet Address
ค. Network Address และ Internet Address
ง. ถูกทุกข้อ
3. 209.123.226.168 อยู่ในclass อะไร
ก. Class A
ข. Class B
ค. Class C
ง. Class D

4. การจำกัดบางหมายเลขเพื่อใช้เป็นการภายใน หมายเลขใดที่อยู่ใน class B
ก. ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
ข. ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
ค. ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx
ง. ไม่มีข้อถูก

5. สำหรับภายในองค์กร ก็มีหมายเลขต้องห้ามใช้คือหมายเลขใด
ก. 127.xxx.xxx.xxx
ข. 0.0.0.0
ค. ถูกทั้งข้อ ก และ ข
ง. ไม่มีข้อถูก